ปลูกมะกอกโอลีฟไว้ในสวน ดีจริงหรือไม่ ช่วงนี้ผู้เขียนบ้าจัดสวน เลยมีข้อมูลที่อยากแชร์เผื่อผู้สนใจอยากลองนำ “ต้นมะกอกโอลีฟ” มาปลูกไว้ในสวนแทนต้นเบาบับ เพราะคุณประโยชน์ดีกว่าและอายุยาวนานพอกัน.
สาเหตุที่เลือกมะกอกโอลีฟ ไม่ได้มาจากที่คุณอั้ม พัชราภาเลือกปลูกจากบทความต้นไม้แห่งอิสรภาพและความหวังหรอกนะ แต่อยากจะหาพันธุ์ไม้ที่ไม่ต้องดูแลมาก ปลูกแล้วได้กินยาวๆ เป็นพืชทนแล้ง ทนน้ำท่วม หรืออะไรที่คนขี้เกียจอย่างผู้เขียนเป็น มาไว้ในสวนสวยๆ ซักต้น ที่สำคัญคือ กระแสคนนิยมต้นเบาบับเวอร์เกินไป
เอาตรงๆ คือจะปลูกทำไมเบาบับ มันพังบ้านได้เลยนะ ต้นใหญ่เท่าบ้านสูงเป็นสิบเมตร แล้วจะดีไหมหากเลือกเป็น ต้นมะกอกโอลีฟ มาปลูกแทนไม่ว่าจะลงในกระถางหรือปลูกไว้หน้าบ้านก็สวยงามมากมายทีเดียว ลองดูภาพนี้แล้วคุณจะตัดสินใจได้เหมือนผู้เขียนแน่นอน
ต้นมะกอกโอลีฟ บ้านคุณอั้ม พัชราภา
ภาพจาก https://www.sanook.com/home/30445/
ต้นเบาบับ ภาพจากเน็ต ใหญ่โตโอ่อ่า
คิดดูว่าถ้าเอาต้นไม้สองชนิดนี้มาจัดสวน ต้นไหนดูสวยกว่ากัน แถมมะกอกยังได้กินผลอร่อยๆ แต่ผลหรือลูกเบาบับ รสชาติคล้ายลูกหยีบ้านเรา (บอกตรงๆ เลยว่าเชียร์มะกอกโอลีฟมากกว่าเบาบับ) ทีนี่ลองมาเปรียบเทียบกันให้เห็นชัดๆ ถึงประโยชน์ของไม้ 2 ชนิดนี้
ประโยชน์ของต้นมะกอกโอลีฟ VS ต้นเบาบับ
ต้นมะกอกโอลีฟ
แน่นอนว่ามีสรรพคุณหลายอย่าง มะกอกโอลีฟ (Olive, Olea europaea L.) เป็นพืชอาหาร ส่วนต่างๆ ของต้นมะกอกโอลีฟสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ไม่แพ้ไม้อื่น
- ผลมะกอกโอลีฟ : ใช้เป็นอาหารและใช้ผลิตน้ำมันมะกอกเพื่อบริโภคและเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ
- ต้นมะกอกโอลีฟ : เนื้อไม้ของมะกอกโอลีฟสามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์แกะสลักและผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์เนื่องจากมีลวดลายที่สวยงามและมีความแข็งแรง
- ใบมะกอกโอลีฟ : ต้นมะกอกโอลีฟสามารถนำใบมาใช้ประกอบอาหารและใช้ในการบำบัดรักษาทางการแพทย์ ปัจจุบันสามารถสกัดน้ำมันจากใบได้ด้วย
น้ำมันมะกอกโอลีฟ จัดเป็นน้ำมันที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากมีส่วนประกอบของสาร cycloarthanol ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติในการจับตัวกับโคเลสเตอรอลในวงจรการดูดซึมทำให้โคเลส เตอรอลไม่ซึมเข้าสู่กระแสโลหิต และช่วยลดปริมาณโคเลสเตอรอล (LDL) ช่วยเพิ่มปริมาณโคเลสเตอรอล (HDL) ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดและสามารถลดอัตราการเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้
การรับประทานน้ำมันมะกอกโอลีฟ ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงและช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของสมอง
และเราสามารถกินผลมะกอกโอลีฟได้โดยไม่ต้องเอามันไปสกัดเพื่อให้ได้คุณประโยชน์เต็มๆ
ต้นเบาบับ
แน่นอนว่ามีประโยชน์มากมาย เนื่องจากเป็นไม้ใหญ่ยักษ์ สิ่งที่โดดเด่นที่สุดที่ได้รับความสนใจ คือ
- เปลือกเบาบับ : มีคุณสมบัติกันไฟ และยังสามารถนำเอาเส้นใยมาทอเป็นเชือก
- ใบเบาบับ : ใช้ปรุงรสอาหารและเป็นยารักษาโรค สามารถทานได้ทั้งสด และนำไปต้ม มีคุณสมบัติช่วยบำรุงผิวพรรณ
- ต้นเบาบับที่มีขนาดใหญ่ : ลำต้นมักจะกลวง ทำให้สัตว์และมนุษย์ สามารถใช้เป็นที่พักพิงกันแดดกันฝนได้
- ผลเบาบับ : รับประทานได้
ทุกส่วนโดยเฉพาะลำต้น สามารถนำเอามาใช้ประโยชน์เป็นยา ป้องกันและรักษาโรคในมนุษย์ได้ จึงได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้แห่งชีวิต (Tree of Life ) สารสกัดที่ได้เรียกว่า Baobab power complex มีวิตามินมากกว่าส้มถึง 6 เท่า และมีสาร Antioxidants (สารป้องกันโรคมะเร็ง) โปรตัสเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก โซเดียม แมงกานิส เหมือนกับทับทิม และ แครนเบอร์รี่ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติเก็บกักน้ำได้ดีอีก
แต่เรื่องพวกสารสกัด นั่นคือการแปรรูปเพื่อใช้ในเชิงอุตสาหกรรม เราไม่สามารถปลูกต้นเบาบับได้เหมือนการปลูกยูคาลิปตัส (แค่ต้นเดียวก็เต็มบ้านแล้ว) เราไม่สามารถใช้ฟัน กัด แทะ ต้นเบาบับเพื่อเอาวิตามินมาใส่ปากได้ง่ายๆ แต่ต้องมาจากการผลิตและการสกัดโดยเฉพาะ ส่วนผลเบาบับก็มีรสชาติเหมือนลูกหยี
ไม่รู้ล่ะ ยังไงก็เชียร์มะกอกโอลีฟ เพราะเมื่อเทียบอายุเท่ากัน ซัก 50-60 ปี ขึ้นไป ต้นมะกอกโอลีฟสามารถตัดแต่งได้ง่ายกว่า จัดทรงพุ่มได้สวยกว่า เนื่องจากมีลักษณะไม่ต่างจากพืชทั่วไป ทนแล้ง ไม่ต้องดูแลมาก ใครที่สนใจปลูกมะกอกโอลีฟคือสบายเลย
เพราะเป็นต้นไม้ที่ไม่ต้องมีความกังวลในเรื่องการดูแล เป็นพืชที่เติบโตง่าย ไม่ชอบน้ำ อดทน แข็งแกร่ง และแม้จะเป็นพันธุ์ไม้ที่มีกำเนิดจากแถบเมดิเตอร์เรเนียน แต่ก็สามารถเติบโตได้ดีในสภาพอากาศบ้านเรา
มะกอกโอลีฟเป็นไม้ยืนต้น ลำต้นมีสีเทาขาวนวล ต้นโค้งงอจับดัดเป็นไม้ดัด เป็นบอนไซได้ ดอกสีขาวครีมขนาดเล็ก กลิ่นหอม ผลเล็กเท่านิ้วหัวแม่มือ ผลดิบสีเขียว ผลสุกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีม่วง เหมาะที่จะนำมาปลูกในสวนสวยๆ เป็นไม้ประธานให้สวนได้ แถมมีดอกที่มีกลิ่นหอม ผลก็รับประทานได้ ประโยชน์เยอะ
แต่ต้นเบาบับ ขนาดต้นอาจจะซัก 2-3 คนโอบแล้ว ต้นขนาดนี้การย้ายก็ยาก เหมาะเอาไปปลูกไว้ท้ายสวนโน่น…
ปัจจุบัน ส่วนวิจัยและพัฒนาของบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด ที่เป็นภาคเอกชนที่ศึกษาวิจัยร่วมกับโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ค้นพบสารสกัดมะกอกโอลีฟจากใบออกมาเป็นน้ำมันเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้
ใบมะกอกโอลีฟมีสาร Oleuropein ที่ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ชะลอความแก่ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ปริมาณสูงกว่าในผลมะกอกโอลีฟมาก และมีสารต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าสารสกัดชาเขียวและสารสกัดเมล็ดองุ่นเกือบ 2 เท่า สูงกว่าวิตามินซีถึง 5 เท่า และมีประสิทธิภาพสูงกว่าผลไม้ตระกูลเบอร์รี่มากกว่า 100 เท่า
อ้างอิงการสกัดน้ำมันจากใบของต้นมะกอกโอลีฟ จากบทความใน : https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_510417
การขยายพันธุ์มะกอกโอลีฟ
การขยายพันธุ์ทำได้หลายวิธีทั้งการปักชำ การตอนกิ่ง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช แต่ที่นิยมคือวิธีการปักชำ หลังปลูกแล้วต้นมะกอกโอลีฟสามารถให้ผลผลิตภายหลังการปลูกตั้งแต่ 5-7 ปีขึ้นไป และจะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นทุกปี จะให้ผลผลิตเต็มที่เมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป หากมีการดูแลรักษาอย่างดี ใส่ปุ๋ยบำรุงสม่ำเสมอ จะให้ผลผลิตได้อย่างต่อเนื่องเป็นร้อยปี เพราะเป็นไม้อายุยืนยาว
ภาพจากโครงการทดลองของคุณเสน่ห์ อ่วมทอง นักวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ซึ่งคลุกคลีกับมะกอกโอลีฟมาตั้งแต่เริ่มโครงการ ได้เล่าว่า การปลูกมะกอกโอลีฟในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะสภาพภูมิอากาศที่มะกอกโอลีฟอยู่ในพื้นที่แห้ง
แต่ภายหลังที่มีการศึกษาวิจัยจนค้นพบประโยชน์จากใบ โครงการจึงดำเนินต่อ ซึ่งจากการศึกษาระยะหลังเราค้นพบวิธีขยายพันธุ์ วิธีดูแลที่ถูกวิธี ทำให้ต้นมีอัตรารอดตายเกือบทั้งหมด
และเพราะต้นมะกอกโอลีฟ เป็นไม้กระแสในช่วงนี้ (ผู้เขียนก็ชอบทำตามกระแส) จึงทำให้มีการควานหาเอามาจัดสวนกันมาก (เหมือนกับ บัวบกโขด ไม้กระแสอีกชนิดที่น่าปลูก)
คุณวิทย์ – ศิริวิทย์ ริ้วบํารุง นักจัดสวนชื่อดัง จัดวางต้นโอลีฟที่เพิ่งนำเข้ามายังเนิร์สเซอรี่ต้นไม้ส่วนตัวภายในบริเวณ Whispering Cafe
ขอบคุณภาพและเนื้อหาบางส่วนจากบ้านและสวน : https://www.baanlaesuan.com/199610/gardens/olive
และเพราะต้นมะกอกโอลีฟเป็นไม้ยืนต้นอายุยืนยาวหลายร้อยปี โดดเด่นด้วยลักษณะของลำต้นที่สวยงาม ลำต้นมีสีเทาและขาวรูปทรงบิดเป็นเกลียวดูอ่อนช้อย กิ่งก้านที่เจริญเติบโตแบบแผ่ และลำต้นที่ไม่สูงมากนัก อยู่ที่ประมาณ 3-15 เมตร ทำให้ดูโดดเด่นแต่ไม่บดบังทิวทัศน์อื่นๆ
ใบมีสีเขียวเงินตลอดทั้งปี ออกดอกสีขาวบริเวณซอกใบ ก่อนกลายเป็นผลขนาดเล็กที่มีทั้งพันธุ์สีเขียวและสีดำ ผลของต้นสามารถนำมารับประทานและผลิตน้ำมันที่มีคุณค่าทางโภชนาการหรือใช้ในทางการแพทย์ได้
ขอบคุณภาพจาก : https://readthecloud.co/olive-olea-europaea/
จึงมีการนำเข้าต้นไม้ชนิดนี้มาปลูกในเมืองไทยกันมาก ด้วยเป็นไม้กระแส การขยายพันธุ์เพื่อจำหน่ายแก่นักจัดสวนจึงไม่ใช่เรื่องยาก
เพราะเป็นต้นไม้ปลูกง่าย ชอบสภาพอากาศร้อน แห้ง ไม่ต้องการน้ำมากก็เติบโตได้ดี เหมาะสำหรับนำมาเป็นไม้จัดสวน แต่งบ้าน และเป็นผลไม้บำรุงร่างกาย
การปลูกต้นมะกอกโอลีฟ
การปลูกก็ไม่ยาก ใช้ดินร่วนปนทราย และควรปลูกในที่โล่ง ชอบแสงตลอดวัน สำหรับต้นที่ยังไม่โตเต็มที่สามารถปลูกลงกระถางวางไว้ในที่แสงรำไรได้ ลำต้นจะยืดโตได้เร็ว ไม่ต้องรดน้ำบ่อย 3-4 วันรดครั้งหนึ่งได้ ดูว่าหากดินแห้งเกินไปก็สามารถรดน้ำซ้ำได้
หากใครต้องการหาต้นพันธุ์มะกอกโอลีฟมาปลูกในช่วงนี้ คงต้องควานหากันหน่อยเพราะแหล่งขายผลิตกันไม่ทัน ถ้าผู้เขียนหาได้จะกลับมาบอกต่อในคราวหน้านะครับ
หากชอบบทความนี้ก็แชร์กันเยอะๆ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนได้
สนใจสั่งซื้อ ต้นมะกอกโอลีพ นำเข้าจากต่างประเทศ
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
วิธีการปลูกต้นไม้และเลี้ยงยังไงให้รอดตาย สำหรับมือใหม่
หลายคนต้อง Work From Home เพราะเจอกับพิษร้ายของ covid-19 การอยู่บ้านทำงานเพียงอย่างเดียวคงจะเป็นเรื่
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเพาะเห็ดฟางในตะกร้าขาย ทำอย่างไรถึงรวยได้
ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เทคนิคเพาะเห็ดฟางในพื้นที่จำกัดสร้างรายได้ยั่งยืน ดูวิธีทำ ไม่ยาก อุปก
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้
ข้าวหอมมะลิ ข้าวชนิดแรกที่ขึ้นทะเบียนข้าว GI สายพันธุ์เด่นคือ พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการทำงาน
ปรัชญาในการทำงาน ไม่ใช่ หลักเศรษฐกิจ แต่เน้นเรื่อง ความมีเหตุผล ความพอประมาณ และระบบภูมิคุ้มกันในตัว
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมไผ่กิมซุง ไผ่ตงลืมแล้ง ปลูกไม่ยากอย่างที่คิด
ไผ่กิมซุง ไผ่ตงลืมแล้ง ไผ่บีเซย์ เป็นพืชทนแล้งชนิดเดียวกัน แต่มีหลายชื่อเรียก โดยมีชื่อสามัญเรียกว่า
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมมะม่วงกิมหงส์ พันธุ์เขียวสามรส ให้ผลตลอดปี
มะม่วงเขียวสามรส มะม่วงกิมหงส์ ดูการปลูกที่ให้ผลผลิตตลอดปี ปลูกง่าย ดูแลไม่ยาก สายพันธุ์ที่ตลาดต้องก
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
บทความเกษตรน่าสนใจ
แนะนำบทความเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ และน่าติดตาม บทความยอดนิยม
แนะนำบทความยอดนิยม ในหมวดต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ต้องการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง และยั่งยืน เนื้อหาเข้าใจง่าย ทำได้จริง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรโดยตรง
สารเร่งซูเปอร์ พด. และหัวเชื้อจุลินทรีย์ ใช้ทำอะไร
อนาคตเกษตรอินทรีย์ จะไปในทิศทางไหน
สูตรทำน้ำพริกด้วยวิธีง่ายๆ จากพริกปลูกเองหลังบ้าน