วันนี้มาว่ากันด้วยเรื่องการเพาะเห็ด และเคยนำเสนอไปแล้วเกี่ยวกับเห็ดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเพาะเห็ดตับเต่า การเพาะเห็ดฟาง และอื่นๆ ซึ่งสามารถทำรายได้แก่เกษตรกรให้สามารถอยู่รอดได้ในหลายครอบครัวมาแล้ว สำหรับวันนี้ ทีมงานเกษตรอินทรีย์ ก็อยากจะนำเสนอเรื่องของการเพาะเห็ดลม ใครสนใจอ่านกันได้เลย
หากต้องการดูเนื้อหาน่าสนใจเกี่ยวกับ การเพาะเห็ดฟางสู้แล้ง หรือ การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า กดดูได้เลยจากลิ้ง
เห็ดลม คืออะไร ข้อมูลทั่วไปของเห็ดลม
เห็ดลม หรือรู้จักกันในชื่ออื่นว่า เห็ดกระด้างดำ หรือเห็ดกระด้าง เห็ดบด เห็ดชนิดนี้จัดอยู่ในสกุล Lentinus เป็นเห็ดขอนชนิดหนึ่งที่สามารถรับประทานได้ เห็ดลมมีจำหน่ายมากในปลายฤดูฝน และต้นฤดูหนาว มีมากในแถบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
โดยผู้ขายจะเก็บเห็ดมาจากขอนไม้ในป่าเพื่อนำมาจำหน่ายตามข้างทาง เห็ดลมจัดว่าเป็นเห็ดที่มีเนื้อแห้งและเหนียวคล้ายหนัง ชาวบ้านจะเก็บเห็ดชนิดนี้ร้อยเป็นพวงมาลับ หรือขายปนกับผักที่ใช้ประกอบแกงแคที่มีชื่อทางภาคเหนือ
เห็ดกระด้างหรือเห็ดลม เป็นชื่อที่เรียกกันทางภาคเหนือ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า เห็ดบด เห็ดขอนดำ หรือ เห็ดกระด้าง ในธรรมชาติมักพบขึ้นกับไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง รัง เหียง ตะเคียน และไม้กระบาก เป็นต้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lentinus polychrous Lev.
เผยเทคนิคการเพาะเห็ดลมที่ได้ผลจริง
ข้อมูลยืนยันโดยกองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร ซึ่งได้ประสบความสำเร็จในการศึกษาถึงวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดลมนี้เมื่อปี 2530 และสามารถทำให้เห็ดลมอยู่ได้ในระดับที่เป็นการค้าได้ โดยขั้นตอนและวิธีการเพาะเห็ดลมนั้น ก็จะคล้ายๆ กับการเพาะเห็ดในถุงพลาสติกทั่วไปที่มีการเพาะเลี้ยงเห็ดสกุลนางรมโดยประกอบด้วยขั้นตอนการเพาะเห็ดลม 4 ขั้นตอนหลัก คือ
- การผลิตหัวเชื้อเห็ดบริสุทธิ์
- การทำหัวเชื้อเห็ด
- การเพาะเห็ด (ก้อนเชื้อ/เพาะในท่อนไม้)
- การเปิดดอกและการเก็บเกี่ยว
การเพาะเห็ดลมแบบพอเพียง ทำเองได้ไม่ยาก
เห็ดชนิดนี้ดอกอ่อนจะนิ่ม เมื่อแก่จะเหนียวและแข็ง จึงสามารถเก็บรักษาไว้รับประทานได้นานข้ามปี เวลาจะนำมาปรุงอาหารก็นำไปแช่น้ำให้คืนสภาพเหมือนเห็ดหูหนู เป็นเห็ดที่มีรสหวานกว่าเห็ดชนิดอื่นๆ ในตระกูลเดียวกัน ดอกอ่อนนำไปแกงซุปหรือลาบให้ความรู้สึก ในการรับประทานคล้ายเนื้อสัตว์ มีความกรุบเหนียว ลื่นลิ้น จึงเป็นที่นิยมรับประทานของคนในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นจึงเป็นพื้นที่ๆ เป็นแหล่งผลิตด้วยราคาของเห็ดกระด้างค่อนข้างสูงกว่าเห็ดพื้นเมืองชนิดอื่นๆ
เห็ดลมนั้นตกกิโลกรัมละ 80-200 บาท แล้วแต่ฤดูกาลเกษตรกรบางรายสามารถทำรายได้สูงกว่า 5 หมื่นบาทต่อเดือน เห็ดลมเป็นเห็ดพื้นเมืองอีกชนิดหนึ่ง ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อการเพาะปลูกเป็นการค้า ซึ่งกรมวิชาการเกษตร โดยอัญชลี (2540ข) ได้คัดเลือกสายพันธุ์ดีไว้บริการและจำหน่ายแก่เกษตรก ร พร้อมทั้งได้วิจัยและพัฒนาสูตรวัสดุเพาะ ซึ่งมีหลายสูตรด้วยกัน คือ…
สูตรเพาะเห็ดลม ด้วยวัสดุเพาะที่ 1 (อัญชลี, 2540ข) ด้วยส่วนประกอบดังนี้
- ขี้เลื่อยไม้ยางพารา หรือไม้มะม่วง มะขาม 100 กิโลกรัม
- น้ำตาลทราย 2-3 กิโลกรัม
- รำ 3-5 กิโลกรัม
- ปูนขาว 1 กิโลกรัม
- น้ำ 65-75 กิโลกรัม (ลิตร)
สูตรเพาะเห็ดลม ด้วยวัสดุเพาะที่ 2 (พิมพ์กานต์, 2540) ด้วยส่วนประกอบดังนี้
- ไม้เบญพรรณ 100 กิโลกรัม
- แอมโมเนียมชัลเฟต 1 กิโลกรัม
- ปูนขาว 1 กิโลกรัม
- ผสมส่วนผสมทั้ง 3 ชนิด หมักกับน้ำประมาณ 2-3 เดือน กลับกองประมาณ 3-4 ครั้ง นำไปผสมกับ รำละเอียด 3 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 2 กิโลกรัมปรับความชื้นประมาณ 50 – 55 เปอร์เซ็นต์
วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการทำเห็ด
- ถุงพลาสติกใสทนร้อนขนาด 3X13 นิ้ว
- คอขวดพลาสติกทนร้อน
- สำลี ยางรัด
- หม้อนึ่งลูกทุ่ง
- วัสดุเพาะตามสูตร
- โรงพักบ่มเลี้ยงใยและโรงเรือนเปิดดอก
เทคนิคและวิธีการในการเพาะเห็ดลม ด้วยสูตรสำเร็จ
ผสมสูตรสำหรับการเพาะเห็ดลม และวัสดุเพาะของเฉพาะสูตรเพาะเห็ดที่ต้องการ ผสมเข้าด้วยกัน โดยนำน้ำตาลละลายในน้ำจากนั้นนำไปรดบนขี้เลื่อย ซึ่งผสมกับรำไว้เรียบร้อยแล้ว ผสมจนเข้ากันดี จึงนำไปบรรจุในถุงพลาสติกทนร้อน กดให้แน่น หลังจากนั้นให้รวบปากถุง รวบคอขวด จีบและพับปากถุง ดึงให้ตึงรัดด้วยยางวง แล้วอุดด้วยฝ้ายหรือสำลี และนำกระดาษหนังสือพิมพ์หรือฝาครอบพลาสติกมาปิดไว้ ป้องกันไม่ให้สำลีเปียก ขณะทำการนึ่งวัสดุเพาะ
เสร็จแล้วนำไปเรียงในหม้อนึ่งลูกทุ่ง เต็มแล้วจึงปิดฝา แล้วนึ่งโดยไม่ใช้ความดันเป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง โดยใช้ไฟสม่ำเสมอสังเกตุให้ไอน้ำพุ่งตรงตลอดเวลา ต้องพยายามเติมเชื้อเพลิงให้สม่ำ เสมอด้วย เมื่อได้เวลาแล้ว นำมาทิ้งไว้ให้เย็นในที่สะอาด และ อากาศโปร่ง แล้วนำเชื้อ ขยายมาถ่ายลงถุงเพาะ พยายามใส่เชื้อขยายภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากถุงเพาะเย็นแล้ว มิฉะนั้นเส้นใยจะเดินไม่ตรง เนื่องจากจะมีเชื้อปนเปื้อนเข้ามาแทรกได้
การพักบ่มเส้นใยเห็ดลม
เส้นใยที่เจริญในถุงวัสดุเพาะเห็ด 1 กิโลกรัม จะใช้เวลา 30-35 วัน จึงจะเติม ถุงเพาะเพื่อเส้นใยเดินเต็มถุงต้องพักบ่มเส้นใยต่อไป จนเส้นใยเริ่มสร้างสีน้ำตาล โดย เฉลี่ยจะใช้เวลา 80-90 วัน จึงนำไปเปิดดอก โรงพักบ่มเส้นใยควรเป็นโรงเรือนที่ร่ม โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 28-35 องศาเซลเซียส
สร้างโรงเรือนสำหรับเปิดดอกเห็ดลม
คล้ายโรงเรือนของเห็ดขอนขาว สามารถมุงด้วยพลาสติกและพรางแสงด้วยซาแลน ไม่จำเป็นต้องใช้แฝกหรือจาก เพราะเป็นเห็ดที่ชอบอุณหภูมิสูง โดยให้มีความชื้น 70-80 % ในการเปิดดอกเห็ดลม เห็ดจะออกดอกได้ดี เมื่ออากาศแปรปรวนหรืออุณหภูมิกลางวัน ต่อกลางคนต่างกันมาก
ภาพโรงเรือนเพาะเห็ดลมที่ “ฟาร์มเห็ด ชุติมา” : https://hug-hed.blogspot.com
มีเกษตรกรที่ชำนาญการเพาะเห็ดลมในภาคอีสาน นิยมกระตุ้นให้เห็ดออกดอกสม่ำเสมอโดยปิดโรงเรือนให้ร้อนในช่วงเที่ยงถึงบ่าย 3 โมงเย็น โดย อุณหภูมิในโรงเรือนอยู่ระหว่าง 35-37 องศาเซลเซียส แต่ไม่ควรเกิน 40 องศาเซลเซียส เพราะเส้นใยอาจตายได้ หากอุณหภูมิขึ้นสูงมาก ก็จะระบายความร้อนโดยการรดน้ำด้วย สปริงเกอร์ ส่วนในเวลากลางคนจะเปิดโรงเปิดดอก ให้ได้รับความเย็นและอากาศ ถ่ายเทได้เต็มที่ จะช่วยให้ผลผลิตออกสม่ำเสมอได้ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ผู้สนใจเห็ดลม ควรฝึกปฏิบัติและสังเกตเทคนิคให้ดี จึงจะประสบผลสำเร็จในการเพาะ
นอกจากนี้เกษตรกรบางราย อาจใช้วิธีรดน้ำที่ก้อนเพาะให้ชุ่ม แล้วนำผ้าพลาสติกมาคลุมกองไว้ 2-3 วัน เมื่อเริ่มเห็นตุ่มดอกจึงลดอุณหภูมิในโรงเรือนและระบายอากาศให้ดอกเห็ดเจริญ ต่อไป การให้ผลผลิตของเห็ดกระด้างแต่ละครั้งจะทิ้งช่วงห่างกัน 15-20 วันในแต่ละรุ่น
การเก็บผลผลิตเห็ดลม
การเก็บดอกเห็ด เก็บในระยะที่ดอกเห็ดมีอายุ 2-3 วัน หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหมวกเห็ดไม่เกิน 6 เซนติเมตร เป็นขนาดที่มีราคาดีที่สุด ทั้งการบริโภคสดหรือทำแห้งผลผลิตเฉลี่ยของเห็ดกระด้า งประมาณ 100-250 กรัมต่อถุง เก็บได้ในระยะเวลา 100-120 วัน การตลาด ราคาของเห็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 6 เซนติเมตร จำหน่ายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80-100 บาท สามารถจำหน่ายในรูปของดอกเห็ดสดและเห็ดแห้ง
ควรเก็บดอกเห็ดในขณะที่ปลายขอบหมวกยังโค้งงอ ลักษณะคล้ายการเก็บดอกเห็ดขอนขาว จะได้ดอกเห็ดที่มีคุณภาพ หวานนุ่ม เหมาะที่จะนำไปผัดหรือซุป หากเก็บดอกเลยระยะดังกล่าว จะทำให้ดอกเห็ดทีได้เหนียว เคี้ยวยาก เช่น ดอกที่เก็บในธรรมชาติ แต่คนท้องถิ่นพื้นเมือง ก็มีภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยนำดอกไปฉีก หรือสับ ก่อนปรุงเป็นลาบหรือใส่แกงแค (แกงพื้นเมืองภาคเหนือ) นับเป็นเห็ดที่อร่อยชนิดหนึ่งเลยทีเดียว
แหล่งจำหน่ายก้อนเชื้อเห็ดลม
- สวนเห็ดบ้านอรัญญิก จ.กรุงเทพฯ 02-8898740-7.(02) 441-0369, 441-9263
- ศูนย์ไบโอเทค เลขที่ 19/7 ม.11 ต.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทร.(02) 908-3010-3
- ฟาร์มเห็ดนางฟ้าคุณแดง นครราชสีมา โทร.0-4435-7084
- ฟาร์มเห็ดรุจิรา กาฬสินธ์ โทร.0-4382-0960
หมู่บ้านเพาะเห็ดที่ใหญ่สุดในประเทศไทย ที่ บ้านโนนสูง จังหวัดกาฬสินธ์ แหล่งเพาะเห็ดลมส่วนใหญ่ถูกกระจายไปยังภาคเหนือและภาคกลาง สำหรับการเพาะเห็ดลมที่นี่ เมื่อทำการเปิดดอกครั้งแรกก็ได้ทุนคืนแล้ว เพราะเห็ดลมราคาสูงมาก ขายส่งกิโลกรัมละ 100-110 บาท แล้วในปัจจุบัน
ขอบคุณเนื้อหาที่ให้อ้างอิง จาก rakbankerd.com / kasetporpeang.com / แฟนเพจเกษตรพอเพียง
เรียบเรียง kasetorganic.com
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
ปลูกพริกขี้หนูสวนให้ลูกดกเต็มต้น
ปลูกพริกขี้หนูให้ดก แต่พอปลูกแล้วก็ไม่ขึ้น หรือขึ้นแล้วก็ไม่มีลูก ไม่งาม เพลี้ยแป้งกิน
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปลูกผักบนต้นกล้วยงอกจริงหรือไม่ ความจริงที่ไม่มีใครบอก
หลายคนสงสัยว่าการปลูกผักบนต้นกล้วยได้ผลจริงไหม เพราะในสวนมีกล้วยเยอะ อยากปลูกบ้าง
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมถั่วฝักยาวไร้ค้าง การปลูกและการดูแล
ถั่วฝักยาวไร้ค้าง คือถั่วที่ถูกปรับปรุงสายพันธุ์ ให้ไม่จำเป็นต้องทำค้างให้ต้นถั่วเกาะเพื่อเติบโต ให้
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมผักสวนครัวรั้วกินได้ ที่ควรปลูกไว้ติดบ้าน
ผักสวนครัวรั้วกินได้ เอ่ยถึงถึงเรื่องนี้ หลายคนก็นึกออก แต่อยากให้รู้เกี่ยวกับความหมายของคำนี้ก่อนว่
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมหน้าฝนควรปลูกผักอะไรดี ถึงจะรอด
เข้าหน้าฝน อะไร ๆ ก็จะดูเฉอะแฉะไปหมด ปลูกผักหน้าฝน คิดง่ายไป ว่ามีน้ำเยอะแล้วต้นไม้ ผัก หญ้า จะชอบ แ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมต้นอะโวคาโด เหมาะปลูกเป็นไม้ผลหรือไม้ประดับ
สายพันธุ์อะโวคาโดที่นิยมปลูกกัน และให้ผลผลิตอร่อยสุด ตลาดนิยมพันธุ์ไหน เปรียบเทียบดูเลย รวมถึงช่วงเว
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
บทความเกษตรน่าสนใจ
แนะนำบทความเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ และน่าติดตาม บทความยอดนิยม
แนะนำบทความยอดนิยม ในหมวดต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ต้องการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง และยั่งยืน เนื้อหาเข้าใจง่าย ทำได้จริง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรโดยตรง
ผักเคล Kale คะน้าใบหยัก คืออะไร ดีต่อสุขภาพจริงไหม
ขยายพันธุ์ไผ่ด้วยวิธีตอนกิ่ง แนะนำการทำ
ปลูกผักสวนครัวในกระถาง ทำอย่างไรให้งาม