ปลูกพริกขี้หนูในกระถางให้ได้ผล

ปลูกพริกในกระถาง ใครว่าเรื่องง่าย แต่หลายคนทำแล้วไม่ได้ผล อาจมีเหี่ยว เฉา และไม่มีผลผลิต

สิ่งเหล่านี้เราอาจเจอกับนักปลูกพริกมือใหม่ ที่เห็นและเจออะไรก็กลัวไปหมด คิดว่าพริกจะตายและอาจไม่ให้ผลผลิต แต่รู้หรือไม่ว่า สิ่งที่เห็นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง

บางครั้งเราก็กลัวเกินไป เพราะ พริกขี้หนู เป็นพืชที่อึด ถึก และทนอย่างมาก ในบางครั้งเราเห็นว่าใบพริกเหี่ยวเฉา พอได้น้ำก็กลับเด้งดึ๋งดั๋ง หากเราให้น้ำบ่อย ๆ จะทำให้ต้นพริกติดการดูแล ทำให้อนาคตกลายเป็นความอ่อนแอ

และต้นพริกขี้หนูเป็นอะไรที่ชอบหลอกคนที่สุด สุดท้ายเราก็จะให้น้ำไปเรื่อย ๆ เพราะกลัวมันตาย ประคบประหงมเต็มที่ ท้ายที่สุดมันก็จะไม่มีดอกไม่มีผลผลิต และพอขาดน้ำนิดหน่อยก็ทำท่าว่าตาย (แต่ไม่ตายจริง)

ซึ่งในความเป็นจริง หากเกิดเหตุเช่นนี้ เราควรดูดินในกระถาง ไม่ใช่ทำตรงข้ามคือหมั่นรดน้ำให้ปุ๋ย เพราะเห็นว่าใบเหี่ยวเฉา

ปัญหาปลูกพริกในกระถางแล้วไม่งาม

ในความเป็นจริงเราควรคุ้ยดินในกระถาง ว่ามีความร่วน ซุย หรือมีหนอน แมลง หรือตัวอ่อนของด้วง มากัดกินหรือถือกำเนิดในดิน และเข้าทำลายรากต้นพริกขี้หนูในกระถางหรือไม่ และ 80% ส่วนใหญ่เจอกรณีนี้

ส่วนอีก 20% ที่เหลือ คือดินไม่อุ้มน้ำ ดินแห้งหรือเหนียวเกินไป มีแร่ธาตุอื่นอยู่เยอะ ไม่เหมาะกับการปลูกพริก พิสูจน์ง่าย ๆ คือการดูดิน ถ้าเจอกรณีแรก ให้เพิ่มเนื้อดิน ถ้าเจอกรณีหลัง ให้เปลี่ยนดิน ดูเพิ่มเติมเรื่อง การปลูกพริกขี้หนูสวนให้ลูกดก

พริกในกระถางมีอาการใบเหี่ยว

อาการใบเหี่ยว เกิดได้จากหลายสาเหตุ

ตัวอ่อนด้วง

สาเหตุหนึ่ง คือตัวอ่อนแมลงกินรากพืช

ดินร่วนซุยเกินไป ไม่เก็บน้ำ หรือเจอตัวอ่อนแมลงทำลายราก

กรณีนี้เกิดจากดินที่ได้ไม่มีเนื้อดินผสม อาจมาจากการใช้ปุ๋ยคอกอย่างเดียว โดยไม่ผสมกับเศษวัสดุปลูกและดินท้องถิ่นเลย หรือมีการผสม แต่น้อยเกินไป ทำให้มูลสัตว์ หรือเศษพืช ย่อยสลายลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้เนื้อดินร่วนซุย แต่ไม่มีแร่ธาตุ ซ้ำการร่วนซุยของเนื้อดินแบบนี้ จะทำให้การระบายน้ำเป็นไปได้ง่าย ดินไม่อุ้มน้ำ

ไม่แปลกที่อาจเห็นว่ามีดินในกระถางอยู่เต็ม แต่ไร้ประโยชน์ เพราะพืชไม่สามารถนำเอาแร่ธาตุและน้ำมาใช้เติบโตได้ อีกกรณีหนึ่งคือ มีตัวอ่อนแมลงกัดกินหรือทำลายรากต้นพริก ทำให้พริกไม่สามารถหาอาหารได้

ด้วยสาเหตุข้างต้น จะทำให้พริกเหี่ยว เฉา ดูไม่สดชื่นแข็งแรง ให้ผลผลิตก็ไม่ดี ทั้งที่ปัจจัยอื่น ๆ ครบและเพียงพอ ผู้ปลูกได้แต่รดน้ำเพื่อให้พริกกลับมามีใบที่เขียว สดใส แต่เป็นการแก้ปัญหาที่ผิดหลัก

เทคนิคการบำรุงดิน
การปลูกพริกในกระถาง

วิธีแก้ : นำดินในท้องถิ่นมาผสม ในอัตราส่วน ดินเก่า 1 ส่วน ผสมกับดินใหม่ที่หาได้ 2 ส่วน ร่วมกับปุ๋ยคอก และเศษหญ้าหรือใบก้ามปูที่ผ่านการหมักแล้วอีก 2 ส่วน อาจเพิ่มกรวดเม็ดเล็ก ๆ เพื่อช่วยให้เกิดการร่วนซุยของเนื้อดิน เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ต้นพริกเติบโตได้ดี รวมไปถึงลดการให้น้ำลง เพราะดินใหม่จะอุ้มน้ำมากขึ้น

ดินแข็งเกินไป ระบายน้ำไม่ดี

ผู้ปลูกอาจไม่มีเวลาที่จะพรวนดินบ่อยนัก แม้จะให้ปุ๋ยสม่ำเสมอ แต่ใช่ว่า ธาตุอาหารทั้งหมดจะถูกใช้ไปกับพืชชนิดเดียว ดังนั้น การให้ปุ๋ยบ่อย ๆ ยิ่งเป็นปุ๋ยเคมี หรือออสโมคอส มีการสะสมลงในดินเรื่อย ๆ อาจทำให้ดินแห้ง แข็ง รากพืชเติบโตได้ไม่ดีนัก วิธีแก้ไม่ยาก หากต้องการให้พริกกลับมาดูสดชื่น และพร้อมให้ผลผลิต

วิธีแก้ : เปลี่ยนดินใหม่ทั้งหมด อาจใช้ปุ๋ยคอกในอัตราส่วน 2:1 ผสมกับดินท้องถิ่น โรยหน้าด้วยใบก้ามปูหมัก และปุ๋ยคอกอีกเล็กน้อย เพียงเท่านี้ก็จะได้ดินที่มีแร่ธาตุอาหารครบและเพียงพอ สำหรับปุ๋ยเม็ดละลายช้า อาจจะให้หรือไม่ให้ก็ได้

การแก้ปัญหาดินเค็ม ให้สามารถปลูกพืชผักได้
ปลูกพริกขี้หนูในกระถาง

การเลือกกระถางสำหรับปลูกพริก

การระบายอากาศจำเป็นอย่างมากสำหรับการปลูกพืชในกระถาง โดยเฉพาะต้นพริก คุณเองก็คงไม่อยากให้รากต้นไม้แช่อยู่ในน้ำจนเน่า และการทำให้ดินแฉะบ่อย และนาน คือสาเหตุหลักของโรคและปัญหาอื่น ๆ ที่จะตามมาทีหลัง ดังนั้นควรเลือกกระถางที่มีรูด้านล่าง เพื่อระบายน้ำ และอาจมีรูระบายอากาศรอบ ๆ กระถาง หากไม่มีก็เจาะเพิ่มได้

การปลูกพืชในกระถาง ไม่ใช่เฉพาะพริกอย่างเดียว แต่สามารถนำไปใช้กับพืชได้ทุกชนิด นั่นคือ ใช้กระถางจากขนาดเล็ก ไปขนาดใหญ่ ไม่แนะนำให้ปลูกต้นกล้าในกระถางใหญ่ทีเดียว แต่ควรปรับและเริ่มตั้งแต่ขนาดที่เหมาะสมก่อน แล้วค่อยขยายใหญ่ขึ้นตามลับดับความสูงของลำต้น

ปลูกพริกขี้หนูในกระถาง
ปลูกพริกขี้หนูในกระถาง
วิธีปลูกพริกขี้หนูในกระถาง

ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้พืช เติบโตได้เร็วและดี รากหาอาหารได้เพียงพอ การใช้กระถางไซน์ใหญ่ ปลูกพืชต้นเล็ก มีข้อเสียหลายอย่าง เป็นต้นว่า ธาตุอาหารกระจายไปทั่ว แต่รากพืชยังเดินไปไม่ถึงทำให้ไม่ได้รับธาตุอาหาร กระทั่งถูกย่อยสลายไปกับสิ่งอื่น น้ำเป็นสิ่งสำคัญ แต่กระถางใหญ่ จำเป็นต้องใช้น้ำมากขึ้น

แนะนำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพริกในกระถาง ที่น่าสนใจ

การให้น้ำน้อย ๆ ในกระถางใหญ่ๆ คุณคิดว่าอาจเพียงพอต่อพืช แต่เชื่อเถอะว่า มันไม่พอ เพราะน้ำจะไหลลงสู่ที่ต่ำเสมอ ยิ่งกระถางใหญ่ ยิ่งสูง รากพืชก็ไปไม่ถึง

โรคและสัตว์รบกวนสำหรับพริกในกระถาง

โรคที่พบได้บ่อย คือ โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย โรคราน้ำค้าง หรือโรครากเน่าโคนเน่า ส่วนใหญ่เกิดจากการให้น้ำมากไป และกระถางไม่มีการระบายอากาศและน้ำที่ดีพอ

สัตว์รบกวน เช่น เพลี้ยอ่อนหรือแมงมุม อาจมากัดกินใบอ่อน ก็เป็นเรื่องปกติ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีแมลงศัตรูมากนัก เนื่องจากปลูกจำนวนน้อย คอยระวังตัวอ่อนของด้วงในดินที่จะมาทำลายรากพืชจะดีกว่า

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

เปลือกลำไย ใช้ไล่ยุงและแมลงรบกวนได้ดี

รู้หรือไม่ เปลือกลำไยไล่แมลง และใช้ไล่ยุง ได้ ในสมัยก่อน เรารู้กันว่า เปลือกส้ม ดอกไม้บางชนิด สามารถ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
ข้อดีและข้อเสียของการทำเกษตรอินทรีย์

วิธีการทำเกษตรที่ยั่งยืนและมีประโยชน์ แต่ก็พบกับความท้าทายในการผลิตและความต้องการพื้นที่ที่มากขึ้น อ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
หมูหลุม เลี้ยงอย่างไรให้ต้นทุนต่ำ

หมูหลุม คืออะไร ต่างจากการเลี้ยงหมูปกติอย่างไร เข้ามานี่มีคำตอบ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
มะขามเปรี้ยวยักษ์ ปลูกครั้งเดียวอยู่ชั่วลูกหลาน

ต้นมะขามเปรี้ยวยักษ์ ปลูกกครั้งเดียวอยู่ชั่วลูกหลาน พืชเศรษฐกิจมีราคา ไม้ยืนต้นอายุยืนดูแลง่าย แนะนำ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
ปลูกพริกชี้ฟ้าให้ได้ผลใหญ่ลูกดก

ขึ้นชื่อว่าพริกก็เผ็ดเป็นธรรมดา ขนาดเม็ดเล็กๆ ยังเผ็ดจี๊ด แล้วถ้าปลูกพริกให้ได้ผลใหญ่และมีลูกดกด้วย

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
ผักเคล ยืนหนึ่งเรื่องสุขภาพ

ผักเคล (Kale) หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “คะน้าใบหยัก” อย่างที่รู้กันว่า เคล เป็นพืชตระ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

บทความเกษตรน่าสนใจ

แนะนำบทความเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ และน่าติดตาม บทความยอดนิยม

แนะนำบทความยอดนิยม ในหมวดต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ต้องการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง และยั่งยืน เนื้อหาเข้าใจง่าย ทำได้จริง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรโดยตรง

เราใช้คุกกี้ และแสดงป้ายโฆษณา เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ศึกษารายละเอียดที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และคุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัว ได้โดยคลิก ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เปิดใช้งานคุกกี้ที่จำเป็น และไม่ควรปิดกั้นการแสดงโฆษณาที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
error: อนุญาตแบบมีที่มา