ผักปลอดภัย กับ GAP หรือ Good Agricultural Practice หมายถึงอะไรและเกี่ยวข้องกันอย่างไรกับการทำเกษตรอินทรีย์
รวมไปถึงมีความสำคัญอย่างไรบ้าง วันนี้ kasetorganic.com จะมาไขข้อข้องใจกับเรื่องนี้กัน
GAP : Good Agricultural Practice หมายถึง ระบบการผลิตที่ถูกต้องในฟาร์ม โดยพิจารณาตั้งแต่พื้นที่การเพาะปลูก ตลอดถึงขั้นตอนการดูแลรักษา จนกระทั่งถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังเก็บเกี่ยว
เรียกว่า ตั้งแต่เพาะปลูกไปจนกระทั่งสินค้าไปถึงมือผู้บริโภค จะผ่านการจัดการที่เรียกกันว่า GAP : Good Agricultural Practice เพื่อจัดการกับขั้นตอนต่างๆ ให้ผู้บริโภคได้มั่นใจในสินค้าเกษตร
ทำไมการทำเกษตร จำเป็นต้องมีมาตรฐาน GAP
ผักผลไม้สดที่วางขายตามท้องตลาด ส่วนใหญ่ต้องดูสวย ไม่มีร่องรอยของการถูทำลายโดยโรคและแมลงศัตรูพืช แต่ความสวยงามนั้นไม่ได้บ่งบอกถึงความปลอดภัยทางอาหารอย่างแท้จริง ในทางกลับกันอาจมีสารปนเปื้อนจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารของคน
จากคำถาม ทำไมการทำเกษตร จำเป็นต้องมีมาตรฐาน GAP นั่นก็เพื่อ…
เพื่อให้ได้ผลผลิตการเกษตรที่มีคุณภาพ มีลักษณะตรงตามความต้องการที่เป็นมาตรฐาน และมีความปลอดภัยต่อการบริโภคเป็นหลัก
ดังนั้นขั้นตอนและวิธีการจัดการให้ผลผลิตปลอดภัยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในระบบความปลอดภัยของอาหาร ตั้งแต่แปลงปลูกจนถึงโต๊ะอาหาร (From Farm to Table) เทคโนโลยีที่ช่วยลดการปนเปื้อนดังกล่าวจึงได้ถูกคิดค้นขึ้น
ตัวอย่างเช่น คณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน คิดค้นการใช้สารชีวภัณฑ์จากธรรมชาติทดแทนสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช การลดการปนเปื้อนจุลินทรีย์ในผลผลิตระหว่างกระบวนผลิตไปจนถึงหลังการเก็บเกี่ยวด้วยสารสกัดจากสมุนไพร
ในประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดทำระบบ GAP ของพืชแต่ละชนิดขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 โดยเน้นด้านการปฏิบัติตามคู่มือการผลิต ดังตัวอย่างที่ปรากฏในลักษณะของเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่รู้จักกันในชื่อ GAP ของพืชหลายชนิด โดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมีการแก้ไขให้เป็นเอกสารการจัดทำระบบการผลิตตามข้อกำหนด GAP ของประเทศ
มาตรฐาน GAP ในประเทศไทย
ข้อกำหนดของ ประเทศผู้ซื้อที่จัดได้ว่าเข้มแข็งที่สุดและนิยมใช้ในการอ้างอิงมากที่สุด คือ ข้อกำหนดของสมาพันธ์การค้าปลีกในตลาดยุโรปที่เรียกว่า “EUREP-GAP (Euro Retailer Produce Working Group – GAP)” การพิจารณาข้อกำหนดต่างๆ พิจารณาจากพื้นฐานด้านสังคม และข้อมูลทางการศึกษาวิจัยของประเทศนั้นๆ ทั้งด้านสุขอนามัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นบริษัทในประเทศไทยต้องการส่งออกสินค้าทางการเกษตรไปจำหน่ายในประเทศ ใดๆ ในสหภาพยุโรป จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของประเทศผู้ซื้อเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานของยุโรป (EUREP-GAP)
การนำหลักเกณฑ์ของ GAP มาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agriculture Practices : GAP) สำหรับประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการตรวจรับรองระบบการจัดการคุณภาพ : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP)
โดยได้กำหนดข้อกำหนด กฎเกณฑ์และวิธีการตรวจประเมิน ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่สอดคล้องกับ GAP ตามหลักการสากล เพื่อใช้เป็นมาตรฐานการผลิตพืชในระดับฟาร์มของประเทศ รวมทั้งได้จัดทำคู่มือการเพาะปลูกพืชตามหลัก GAP จำนวนหลายชนิด เรียกรวมๆ ว่า พืช GAP
พืช GAP มีกี่ชนิด อะไรบ้าง
เพื่อใช้เป็นมาตรฐานการผลิตในระดับฟาร์ม จึงมีการจัดทำคู่มือการเพาะปลูกพืชตามหลัก GAP จำนวน 24 ชนิด ได้แก่
- กลุ่มผลไม้ 7 ชนิด : ทุเรียน, ลำไย, กล้วยไม้, สับปะรด, ส้มโอ, มะม่วง และส้มเขียวหวาน
- กลุ่มพืชและผัก 12 ชนิด : มะเขือเทศ, หน่อไม้ฝรั่ง, ผักคะน้า, หอมหัวใหญ่, กะหล่ำปลี, พริก, ถั่วฝักยาว, ถั่วลันเตา, ผักกาดขาวปลี, ข้าวโพดฝักอ่อน, หัวหอมปลี และหัวหอมแบ่ง
- กลุุ่มไม้ดอก 2 ชนิด : กล้วยไม้ตัดดอก และปทุมมา
- กลุ่มพืชอื่นๆ 3 ชนิด : กาแฟโรบัสต้า, มันสำปะหลัง และยางพารา
พืช GAP กับข้อกำหนดที่สำคัญ
- การรักษาระบบบันทึก การทวนสอบ และสายพันธุ์พืช
มีการจัดทำประวัติที่มาและสายพันธุ์ดั้งเดิม - การจัดการพื้นที่ และประวัติแปลง
พื้นที่ปลูก ไม่อยู่ในสภาพเเวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผลผลิต - การจัดการดินและ วัสดุปลูก การจัดการปุ๋ย-ธาตุ อาหาร
วัตถุอันตรายทางการเกษตร จัดเก็บเป็นหมวดหมู่ในสถานที่เก็บที่มิดชิดและใช้ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร - ระบบการให้น้ำ การดูแลรักษาพืช
น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตต้องมาจากเเหล่งที่ไม่มีสภาพเเวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนต่อผลผลิต - การเก็บเกี่ยวผลผลิต
การจัดการคุณภาพในกระบวนการเก็บเกี่ยว มีแผนควบคุมการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพโดยใช้หลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
- การดูแลหลังการเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีอายุเหมาะสม ผลผลิตมีคุณภาพตามความต้องการของตลาดและข้อตกลงของประเทศคู่ค้า - การจัดการสิ่งแวดล้อม
การพักผลิตผล การขนย้ายในเเปลงปลูกและการเก็บรักษาผลผลิต มีการจัดการด้านสุขลักษณะเพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่มีผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค - การจัดการสุขลักษณะ
สุขลักษณะส่วนบุคคล ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ ความเข้าใจในสุขลักษณะล่วนบุคคล เพื่อสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกสุขลักษณะ - การร้องเรียน และการตรวจสอบภายใน
การบันทึกข้อมูลและการตามสอบ มีการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานการใช้สารเคมี ข้อมูลผู้รับซื้อและปริมาณผลผลิต เพื่อประโยชน์ต่อการตามสอบ
ข้อกำหนด 8 ประการ เพื่อการรับรองตามเงื่อนไข GAP
เกษตรกรที่ดี ควรทำตามเงื่อนไข GAP
1. การจัดการดินที่ดี มีการรักษา และปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์อยู่เสมอ
โดยวิธีการเพิ่มอินทรีย์วัตถุลงในดิน เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก การปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกพืชคลุมดินเพื่อลดการชะล้างหน้าดินเมื่อฝนตก มีการปรับความเป็นกรดด่างของดิน เลือกชนิดปุ๋ยเคมีตามปริมาณ ตามระยะที่พืชต้องการในตำแหน่งที่พืชจะใช้ประโยชน์ได้ง่าย และรวดเร็วระวังการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในปริมาณสูงเกินไป จนเกิดปัญหาการปนเปื้อนในรูปของไนเตรตและฟอสเฟต มีการใช้ปุ๋ยแบบผสมผสานกันระหว่างปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีตรงกับระยะเวลา และอัตราที่เหมาะสมของพืชแต่ละชนิด
2. การจัดการเรื่องน้ำ
เลือกใช้ระบบการให้น้ำมีประสิทธิภาพสูง คุ้มค่ากับการลงทุน ให้น้ำตามปริมาณและเวลาที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด และหลีกเลี่ยงน้ำที่ก่อให้เกิดปัญหาการปนเปื้อนกับผลผลิต
3. การผลิตพืช
คัดเลือกพันธุ์หรือสายพันธุ์พืชที่ต้านทานโรคและแมลงศัตรู รวมทั้งจัดระยะปลูกอย่างเหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดของศัตรูพืช จัดลำดับการปลูกพืชในแปลงปลูกให้มีความหลากหลายที่เกื้อกูลประโยชน์ต่อกัน เช่น ปลูกพืชตระกูลถั่ว เพื่อเพิ่มธาตุไนโตรเจนที่ได้จากไรโซเดียมในปมรากถั่ว มีการทำระบบเกษตรผสมผสานพืช สัตว์ และปลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบของความปลอดภัยที่รัฐกำหนดไว้
4. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ให้มีการตรวจสอบและพยากรณ์ช่วงการระบาดของโรคและแมลงอยู่อย่างสม่ำเสมอและ วิธีการ จัดการศัตรูพืชด้วยวิธีผสมผสานมาใช้ ให้มีประสิทธิภาพปลอดภัย และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เมื่อมีการระบาดในระดับไม่รุนแรง ก็อาจจะกำจัดโดยวิธีเผาทำลาย เมื่อพบการระบาดในระดับหนึ่งอาจจะมีการควบคุมด้วยชีววิธี เช่น ใช้ตัวห้ำ ตัวเบียฬ ไส้เดือนฝอย เป็นต้น แต่เมื่อมีการระบาดถึงระดับที่ทำความเสียหายรุนแรงก็อาจจะต้องมีการใช้สิ่ง ทดแทนสารเคมีที่ปลอดภัยกว่า เช่น สารสกัดจากสะเดา เชื้อจุลินทรีย์ เชื้อไวรัสNPV เป็นต้นถ้าจะใช้สารเคมีควรจะดูที่มีการขึ้นทะเบียนแล้ว มีฉลากระบุวิธีการใช้และข้อระวังอย่างชัดเจนปฏิบัติตามฉลากอย่างเคร่งครัด มีการเก็บรักษาสารเคมีก่อน และหลังนำมาใช้เก็บในสถานที่ห่างไกลจากเด็กและสัตว์เลี้ยง
5. การเก็บเกี่ยวและการแปรรูปในระดับไร่นา
เก็บเกี่ยวผลผลิตในเวลาที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่ให้มีผลตกค้างของสารเคมีในระดับที่เป็นอันตราย มีการล้างทำความสะอาดผลผลิต มีการเก็บรักษาผลผลิตในแหล่งที่สะอาดถูกสุขลักษณะและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมบรรจุผลผลิตในภาชนะที่สะอาดก่อนการขนส่งไปยังแหล่งจำหน่าย
6. การจัดการพลังงานและของเสียจากไร่นา
จัดหาและใช้พลังงานไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหรือถ่านที่ใช้เป็นแหล่งพลังงานอย่างเหมาะสมและเพียงพอ มีการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลการเกษตรตามกำหนดเวลา มีการเก็บปุ๋ยและสารเคมีการเกษตรในที่มิดชิดปลอดภัยจากเด็กและสัตว์เลี้ยง
7. สวัสดิภาพ สุขภาพและความปลอดภัยของเกษตรกรหรือผู้ปฏิบัติ
การผลิตสินค้าเกษตรต้องมีรายได้พอเพียงกับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตมีความ ปลอดภัยและมีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ รัฐต้องเป็นผู้ให้ความรู้ในการใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรอย่างถูกวิธี นายจ้างต้องจ่ายค่าตอบแทนเหมาะสมให้กับลูกจ้าง
8. ไม่ทำลายพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืชป่าและสภาพภูมิประเทศ
ควรหลีกเลี่ยงการทำลายพันธุ์พืชสัตว์และสิ่งแวดล้อม มีการกำจัดวัชพืชอย่างเหมาะสม มีการใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง มีการจัดการน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำไม่ให้มีสารพิษปนเปื้อน อันจะเกิดอันตรายกับสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ และแนวทางที่สำคัญของการผลิตเกษตรดีที่เหมาะสมที่เพิ่มขึ้นมาอีกประการหนึ่ง คือ จะต้องมีการ บันทึกข้อมูลการปฏิบัติการ ในขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ หากเกิดข้อผิดพลาดบกพร่อง จะสามารถจัดการแก้ไขหรือปรับปรุงได้ทันท่วงที
ที่มา : แนวทางการ ทำเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP ถึงเวลาที่เกษตรกรไทยต้องทำ โดย เจษฎา มณีรัตน์ วิถีเกษตร / chula.ac.th
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
เทคนิคการเพาะเห็ดลมแบบพอเพียง
วันนี้มาว่ากันด้วยเรื่องการเพาะเห็ด และเคยนำเสนอไปแล้วเกี่ยวกับเห็ดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเพาะเห็ด
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมสารเร่งซูเปอร์ พด. และหัวเชื้อจุลินทรีย์ ใช้ทำอะไร
สารเร่ง พด. ใช้กันมากในอุตสาหกรรมการเกษตร แม้แต่ภาคครัวเรือนก็จำเป็นอย่างสูง หากใครต้องการทำเกษตร ขา
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมบัวบกโขด ทุกเรื่องน่ารู้อยู่ที่นี่
บัวบกโขด ไม้โขดที่ทำรายได้เติบโตอย่างสูง โดยไม่ง้อว่าสภาพเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร แม้ทุกพื้นที่ในโลกนี้
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมแผงโซล่าเซลล์ กับการทำเกษตร
แผงโซล่าเซลล์ เป็นพลังงานสะอาด และเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม และเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้กับการ ทำเกษต
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมแนะวิธีแก้ปัญหางูเข้าบ้านควรทำอย่างไร
ปัญหางูเข้าบ้านที่มักกวนใจกับผู้ที่มีลูกเด็กเล็กแดงหรือผู้สูงอายุ โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนที่สัตว์เลื้อยคล
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปลูกต้นไม้และทำเกษตรบนคันดิน HUGELKULTUR
หมดปัญหาเรื่องพื้นที่น้ำท่วมขัง น้ำท่วมก็ไม่ตายหากเลือกที่จะปลูกต้นไม้และทำเกษตรบนคันดินเสียตั้งแต่แ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
บทความเกษตรน่าสนใจ
แนะนำบทความเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ และน่าติดตาม บทความยอดนิยม
แนะนำบทความยอดนิยม ในหมวดต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ต้องการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง และยั่งยืน เนื้อหาเข้าใจง่าย ทำได้จริง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรโดยตรง
การปลูกขมิ้นชันในกระถางสร้างรายได้เพิ่ม
ปลูกพริกขี้หนูสวนให้ลูกดกเต็มต้น
วิธีปลูกทุเรียน ทำอย่างไรให้โตเร็ว ลูกดก