มะม่วงหิมพานต์ ชื่อนี้หลายคนคุ้นเคยกันดี เนื่องจากเม็ดนั้นอร่อย ไม่ว่าจะทอด อบ หรือคั่ว มะม่วงหิมพานต์นั้นถือเป็นสมุนไพรเช่นกัน เพราะใบและผลมีสรรพคุณทางยา
มะม่วงหิมพานต์ มีชื่อท้องถิ่นหลายชื่อ เรียกต่างกันออกไป เช่น
- มะม่วงกุลา มะม่วงลังกา มะม่วงหยอด มะม่วงสินหน (ภาคเหนือ)
- มะม่วงสิโห (เชียงใหม่), มะโห (แม่ฮ่องสอน), มะม่วงกาสอ (อุตรดิตถ์)
- มะม่วงหิมพานต์ มะม่วงไม่รู้หาว (ภาคกลาง)
- กาหยู กาหยี ยาโหย ม่วงเม็ดล่อ ม่วงเล็ดล่อ หัวครก ท้ายล่อ ตำหนาว ส้มม่วงชูหน่วย (ภาคใต้)
- มะม่วงเล็ดล่อ มะม่วงยางหุบ (ระนอง), กายี (ตรัง)
- ส้มม่วงทูนหน่วย มะม่วงทูนหน่วย (สุราษฎร์ธานี)
- กะแตแก (นราธิวาส), นายอ (ยะละ), ยาโงย ยาร่วง (ปัตตานี)
ลักษณะทั่วไปของมะม่วงหิมพานต์
ต้นมะม่วงหิมพานต์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงโดยเฉลี่ย 6 เมตร (สามารถสูงได้ถึง 12 เมตร) ลำต้นเนื้อไม้แข็ง มีกิ่งแขนงแตกออกเป็นพุ่มแน่นทรงกลมถึงกระจาย เปลือกหนาผิวเรียบมีสีน้ำตาลเทา ในบ้านเราสามารถพบมะม่วงหิมพานต์ได้ทั่วไปในภาคใต้
ประวัติการนำเข้ามาในประเทศไทย สันนิฐานได้ว่า นำเข้าจากอินเดียมาโดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี ณ ระนอง) เมื่อปี พ.ศ. 2444 พร้อมกับต้นยางพารา และหลังจากนั้นได้มีผู้นำเข้ามาอีกหลายครั้ง ทั้งจากอินเดีย ไลบีเรีย โดยกรมวิชาการเกษตร (กรมกสิกรรมเดิม) เป็นผู้ทดลองศึกษาค้นคว้าคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถปลูกให้ได้ผลผลิตสูงในประเทศไทย
ต้นมะม่วงหิมพานต์ เป็นพืชทนแล้ง
มะม่วงหิมพานต์ชอบน้ำ แต่หากโดนน้ำท่วมก็ไม่รอด โดยจัดเป็นไม้ผลยืนต้นและมีอายุหลายปี อยู่ในตระกูลเดียวกับมะม่วง พืชชนิดนี้เป็นพืชทนแล้งและชอบอากาศร้อนและฝนชุก (แต่น้ำต้องไม่ท่วมราก) เป็นต้นไม้ที่ไม่ผลัดใบ แต่มีใบร่วงและขึ้นใหม่อยู่ตลอด มีความสูงราว 6-12 เมตร แผ่กิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มกว้างออกไปโดยรอบ 4-10 เมตร กิ่งทอดยาวแผ่ออกข้าง
กิ่งใหญ่หรือส่วนโคนของกิ่งใหญ่ ถ้าปล่อยตามธรรมชาติจะไม่มีกิ่งแขนงเกิด แต่ถ้าได้รับการตัดแต่งหรือบังคับ ก็จะมีกิ่งแขนงแตกออกตามทิศทางที่ต้องการได้ มีใบหนาคล้ายรูปไข่ ปลายใบป้อม โคนใบแหลมยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร กว้างประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร ออกช่อดอกที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว ประมาณ 15-25 เซนติเมตร บางดอกมีแต่เกสรตัวผู้ บางดอกมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย อยู่ในช่อดอกเดียวกัน การผสมพันธุ์จึงทำการผสมในช่อเดียวกัน ลักษณะดอกเป็นช่อ ในหนึ่งดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวนวล 5 กลีบ เมื่อแรกบานกลีบดอกจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพูอมเหลือง แต่ละดอกมีขนาด เล็กมาก เมื่อเวลาดอกบาน กลีบดอกทั้ง 5 ม้วนเข้าหากลีบเลี้ยง คงโผล่ให้เห็นยอดเกสรตัวเมียชัดเจน เกสรตัวผู้ อยู่ภายในดอก 9 อัน และมีรังไข่อยู่ที่ก้านเกสรตัวเมีย
ส่วนที่ใช้ประโยชน์กันมากคือ ผลและเมล็ด ซึ่งมีลักษณะที่มีเมล็ดอยู่ด้านนอกติดอยู่ตรงปลายสุดของผล เมื่อยังอ่อนจะมีสีเขียว และจะขยายเติบโตจนใหญ่กว่าเมล็ดที่ติดอยู่ เมื่อผลโตได้ขนาด เมล็ดก็หยุดเจริญเติบโตและเปลี่ยนเป็นสีเป็นสีเทา และพร้อมกับผลก็เริ่มขยายเบ่งตัวพองโตขึ้นจนใหญ่กว่าเมล็ดเป็นสีต่างๆ ตามสายพันธุ์ (เหลือง แดง ม่วง) ทั้งผลและเมล็ดสามารถรับประทานได้ มีรสชาติหวานปนฝาดเล็กน้อยเพราะมีน้ำยางจากในผล ผลพอห่าม สามารถนำมาทำแกงคั่ว แกงไตปลา หรืออื่นๆ ผลสุกรับประทานสดได้
เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ กับเมนูอร่อย
เมล็ดจะมีขนาดยาวประมาณ 3 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ถ้าผ่าเมล็ดออกเปลือกเมล็ดจะหนาราว 2-3 มิลลิเมตร เมล็ดในมีสีขาวนวลประกบกัน 2 ซีก เปลือกหุ้มเมล็ดมียางสีน้ำตาลอ่อน มีลักษณะเป็นกรด ถ้าถูกผิวหนังจะทำให้พองเป็นแผลเปื่อย แต่มีประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมมาก
เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถือเป็นสินค้าเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นที่นิยมรับประทานกันมาก ไม่ว่าจะเป็นการนำเมล็ดมา ทอด อบ หรือเผาไฟแล้วกระเทาะเอาเม็ดด้านในออกมารับประทาน ซึ่งราคาเมล็ดดิบที่ยังไม่กระเทาะเปลือก จะมีราคาถูกกว่า โดยทั่วไปในอุตสาหกรรม จะนำเมล็ดที่เริ่มแก่มาแกะเปลือกออกแล้วนำไปอบ บรรจุลงบรรจุภัณฑ์พร้อมจำหน่าย ทำรายได้แก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก
มะม่วงหิมพานต์ นั้นเป็นพืชที่ไม่ต้องลงทุนมาก เนื่องจากระบบรากแผ่ขยายได้กว้าง หาอาหารได้เก่ง ทนแล้งได้ดี แต่ในระยะแรกจะต้องการน้ำพอสมควร ชอบอากาศร้อนชื้น ในระยะที่ตั้งลำต้นได้จะต้องการน้ำน้อยลง ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด ทางรัฐน่าจะเล็งเห็นความสำคัญกับพืชชนิดนี้ นำมาปลูกตามข้างคูคลองป้องกันการถล่มของหน้าดินได้ดี
ประโยชน์ของมะม่วงหิมพานต์
- ผล ใช้รับประทานเป็นอาหาร ทำแยม น้ำส้มสายชู เครื่องดื่ม ไวน์ น้ำของผลมะม่วงหิมพานต์ ใช้เป็นยาแก้โรคกระเพาะ แก้อาเจียน เจ็บคอ ขับปัสสาวะ และขับเหงื่อได้ดี
- เปลือกหุ้มเมล็ด นำมาสกัดได้กรดน้ำมัน ซึ่งมีประโยชน์ทางอุตสาหกรรมใช้ทำผ้าเบรค แผ่นคลัช หมึกพิมพ์ กระเบื้องยางปูพื้น สีทาบ้าน และอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 400 ชนิด และยังทำเป็นยาแก้โรคเหน็บชา โรคเลือดคั่ง และโรคผิวหนัง
- เยื่อหุ้มเมล็ดใน ใช้เป็นอาหารสัตว์
- เมล็ดใน ใช้รับประทานมีคุณค่าทางอาหารสูง ใกล้เคียงไข่ นม เนื้อ ไม่เพิ่มไขมันในเส้นเลือดและตับ เป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายที่สุดดีกว่าพืชตระกูลถั่วทั่วไป
- ใบและยอดอ่อน รับประทานเป็นผักเคียง มีสรรพคุณบรรเทาโรคท้องร่วง บิด ริดสีดวง
- ใบแก่ นำมาบดให้ละเอียด ใช้พอกแผลที่เกิดจากไฟไหม้ หรือนำมาขยี้และใช้สีฟันทำให้ฟันสะอาด ขาว
- ลำต้น ทำหีบใส่ของ ลังไม้ เรือ แอก ดุมล้อเกวียน และอื่นๆ เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง
- ยางจากเปลือกลำต้น ทำหมึกประทับตราผ้า น้ำมันขัดเงา เคลือบหนังสือ น้ำประสานในการบัดกรีโลหะ และใช้ทำกาว
- เปลือกลำต้น แก้ปวดฟัน ต้มกินแก้โรคท้องร่วง และผิวหนังพุพอง
- ราก เป็นยาฝาดสมานแผล และแก้โรคท้องร่วง
เทคนิคการปลูกต้นมะม่วงหิมพานต์ให้ลูกดก
หากเป็นการเพาะเมล็ดในถุงพลาสติก ก่อนนำไปปลูกในแปลงควรขุดหลุมให้กว้าง ยาว ลึก ประมาณ 50-100 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถว 6 เมตร เพราะเป็นไม้พุ่มกว้าง ดินปลูกควรผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 3-5 กิโลกรัม คลุกกับดินบนที่กองไว้ กลบลงในหลุมประมาณครึ่งหลุม นำต้นมะม่วงหิมพานต์ที่จะปลูกวางลงในหลุมให้โคนต้นอยู่เหนือปากหลุมเล็กน้อย ปักไม้พยุงลำต้นโดยใช้เชือกผูกติด กับต้นมะม่วงหิมพานต์เพื่อป้องกันลมโยก จึงนำดินที่เหลือกลบหลุมให้แน่น
ควรปลูกมะม่วงหิมพานต์ไร่ละ 45 ต้น ให้เป็นแถวตรงระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถว 6 เมตร ระหว่าง แถวมะม่วงหิมพานต์ควรปลูกพืชแซม เช่น ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่วต่างๆ ในช่วง 1-2 ปีแรก ก่อนมะม่วงหิมพานต์จะออกผล เพราะเป็นการช่วยเพิ่มรายได้และยังช่วยกำจัดวัชพืชด้วย
การขยายพันธุ์มะม่วงหิมพานต์
สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด และการตอน การติดตา ทาบกิ่ง หรือการเสียบข้าง
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
สวนครัวรีไซเคิล
จั่วหัวแบบนี้อาจจะงงเล็กน้อย แต่หากอ่านต่อไปเรื่อยๆ (หากยังไม่รู้สึกเบื่อ) ก็จะเข้าใจว่า ทำไมต้องรีไ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปลูกหอมแดงในกระถางอย่างไรให้ได้ผล
ปลูกหอมแดงในกระถาง ใครว่าเป็นไปไม่ได้ ถ้าเราอยากจะปลูกไว้ในกระถาง ฟังไม่ผิดหรอกว่าเราจะปลูก หอมแดงใน
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมประจำเดือนผู้หญิง ตัวช่วยเร่ง ต้องใช้สมุนไพรขับ
ยาเร่งประจำเดือนมีไหม? แนะนำว่า ใช้สมุนไพรช่วยขับ จะดีกว่า ปลอดภัยและไม่เป็นอันตราย หาได้ง่ายกว่า
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเทคนิคการบำรุงดินให้สมบูรณ์
การบำรุงดิน ถือเป็นหัวใจหลักสำหรับการทำเกษตร โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการเน้นในเรื่องการเพาะปลูกเป็นหลัก แล
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมระบบการทำเกษตรทางเลือก
จากสภาพปัญหา การเกษตร ที่เกิดขึ้น ทำให้แนวคิด ที่มุ่งแสวงหาทางออก แก่สังคมการเกษตร ได้มีทางเลือกใหม่
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมการปลูกสับปะรดอินทรีย์
สับปะรดอินทรีย์ คืออะไร? กับหลากหลายคำถาม แต่สับปะรดอินทรีย์ ก็คือสับปะรดธรรมดาๆ นั่นเอง
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
บทความเกษตรน่าสนใจ
แนะนำบทความเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ และน่าติดตาม บทความยอดนิยม
แนะนำบทความยอดนิยม ในหมวดต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ต้องการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง และยั่งยืน เนื้อหาเข้าใจง่าย ทำได้จริง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรโดยตรง
ปลูกมะเขือเทศในช่วงฤดูหนาว ทำอย่างไร
ข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้
วิธีปลูกและเพาะ ต้นอ่อนทานตะวัน จากเมล็ดทำอย่างไร