วิถีเกษตรทฤษฎีใหม่ ทำได้จริงและยั่งยืน กับตัวอย่างที่ได้ผลจริง และนี่คือคำตอบ
จากการที่ กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการเกี่ยวกับโครงการสืบสาน “แนวทางการทำเกษตรทฤษฎีใหม่” มาตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งจะสนับสนุนให้เกษตรกร ได้นำแนวทางทฤษฎีใหม่นี้ มาปรับใช้ในกิจกรรมทางการเกษตรแบบต่าง ๆ ในพื้นที่ของตนเองตามความเหมาะสม ก็เพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือน และมีรายได้เสริมมากขึ้น ผลการดำเนินงานเป็นไปได้ดี ร้อยละ 80 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ มีการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตเป็นแนว วิถีเกษตรทฤษฎีใหม่ และสามารถลดรายจ่ายในในครัวเรือนได้จริง
ดูเนื้อหา การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ อย่างยั่งยืน อย่างละเอียดในเรื่องนี้ กดเลยที่ “เกษตรทฤษฎีใหม่“
ตัวอย่าง วิถีเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่ทำได้จริง
ลุงถนอม มณีแสง วัย 67 ปี เกษตรกรตำบลหูช้าง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัย เกษตรกรต้นแบบที่สืบสานแนวทางในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามรอยในหลวง รัชกาลที่ 9 บนพื้นที่ 12 ไร่ ปลูกพืชผสมผสานหลายชนิด ทั้งกล้วย มะนาว ฝรั่ง ไม้ยืนต้นสร้างรายได้ให้ครอบครัวอย่างเป็นกอบเป็นกำ
ลุงถนอม เล่าว่า เดิมที พื้นที่แห่งนี้ปลูกพืชล้มลุกทั่วไป เช่น คะน้า ข้าวโพด รายได้เดือนหนึ่ง 4-5 พันบาท ในครอบครัวมี 2 คนตายาย ตอนนั้นพอกินพอใช้ เพราะปลูกข้าวกินเอง จากนั้น ได้สมัครเข้าโครงการทฤษฎีใหม่ของกรมวิชาการเกษตรปี 2560 จนรู้เทคนิคในการแบ่งพื้นที่ทํากินตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ทำอย่างไร ถึงเหมาะสมและได้ผล
โดยหน่วยราชการได้นำพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์มาให้ เช่น ไก่ เป็ด ปลา ผัก มะพร้าว ให้พันธุ์พืชต่าง ๆ การยึดแนวทางพ่อหลวงทำให้มีรายได้ดีขึ้น จากการปลูกพืชที่หลากหลาย ต้นทุนลดลง ตอนนี้สวนสามารถขายฝรั่งได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 8,000 บาท รายได้เพิ่มขึ้น ยังไม่รวมถึงพืชผลอื่น ๆ อีกหลายชนิด
นอกจากนั้นแล้ว ยังได้รับการอบรมทำบัญชีครัวเรือน ซึ่งทำให้เห็นค่าใช้จ่ายที่ชัดเจน สามารถนำมาควบคุมต้นทุนได้ง่ายขึ้น จะเห็นว่าถ้าค่าใช้จ่ายมากไป ก็สามารถเซฟลงมาได้ ควบคุมต้นทุนได้
ในขณะที่ ละออง ภูจวง จังหวัดมหาสารคาม เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ ได้ใช้ความพยายามฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคจนประสบผลสำเร็จระดับหนึ่ง เป็นแบบอย่างแก่เยาวชนและเกษตรกรทั่วไป โดย คุณละอองเล่าให้ทีมงานเกษตรอินทรีย์ฟังว่า…
เรียนจบ ปวส. ลาออกจากงานประจำมาทำเกษตร โดยศึกษาหาความรู้ตามหนังสือ อินเตอร์เน็ต และอยากทำการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ช่วยให้ครอบครัวอยู่ได้ยั่งยืน แต่ครอบครัวไม่เห็นด้วย เพราะต้องมีการปรับพื้นที่โดยการปรับพื้นที่นามาขุดสระน้ำและให้เป็นสวน ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนมาก
ตนเองไม่ละทิ้งแนวคิด ทำการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเริ่มต้นด้วยการปลูก พืชผักสวนครัวต่าง ๆ ไปพร้อมกับการปลูกพลู ปลูกกล้วย และอื่น ๆ ที่กินได้ เหลือกินก็นำไปขายให้ชาวบ้านและชุมชนใกล้เคียง และได้เข้ารับการฝึกอบรมตามโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่วนราชการจัดขึ้น ทำให้ได้รู้วิธีการและเทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ ๆ จึงมีแนวคิดที่จะขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม โดยทุกครั้งที่ไปเรียนและเข้ารับการฝึกอบรมจะมีคำถามจากคนรอบข้างตลอดว่าจะเรียนไปทำไม แค่ปลูกผักใคร ๆ ก็ทำได้
วันหนึ่ง มีการเปิดรับสมัครเข้าร่วมโครงการพระราชดำริฯ จำนวน 5 คน จึงสมัครเข้าเป็นนักเรียนในโครงการพระราชดำริฯ หลักสูตรการดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงและองค์กรภาคี โครงการรณรงค์เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างภูมิคุ้มกันชุมชน
ทำให้ได้ความรู้โดยมีหลักการสำคัญที่นำมาปรับใช้ในการทำการเกษตรคือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เป็นขั้นตอนตามลำดับความจำเป็น ประหยัด การพึ่งพาตนเอง ส่งเสริมความรู้ และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม มีพื้นที่ทั้งหมด 12 ไร่เศษ
เริ่มจากขุดสระน้ำในไร่นา 1 บ่อ แล้วปลูกพืชผัก ไม้ผล และอื่น ๆ 2 ไร่ เมื่อมีรายได้จึงนำเงินมาขุดบ่อเพิ่มอีก 1 บ่อ ปัจจุบัน ขยายพื้นที่ปลูกออกเป็น 4 ไร่ 52 ตารางวา โดยปลูกพืชหลากหลายชนิด
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเดิมตามรอย วิถีเกษตรทฤษฎีใหม่ อย่างยั่งยืน เท่านั้น ยังมีอีกหลายตัวอย่างที่หันมาทำเกษตรแล้วอยู่รอด โดยเริ่มต้นจากศูนย์ หลายคนจะเห็นว่า จะต้องมีพื้นที่มาก มีเงินทุนมาก ก็อาจถูกเพียงแค่ครึ่งเดียว แต่หากต้องการทำจริงจัง ก็มีหลายหน่วยงานจากทางภาครัฐ ให้การสนับสนุนอยู่ตลอด เพียงแต่ ขอให้ทำจริง ๆ
แหล่งอ้างอิงเนื้อหาและที่มา :
www.matichon.co.th/sme/news_347382
www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_71831
เรียบเรียง : https://www.kasetorganic.com
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
ข้าวลืมผัว ข้าวเหนียวที่อร่อยจนลืมเหลือให้ผัวจริงหรือ
พันธุ์ข้าวเหนียวที่หญิงส่วนใหญ่ได้กิน อร่อยจนลืมผัวจริงหรือ? จากต้นกำเนิดข้าวเหนียวแดง ตระกูลข้าวก่ำ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมผู้กำเนิดแนวคิด สวนเกษตรคอนโด 9 ชั้น
คุณสมบูรณ์ ศรีสุบัติ หรือ ลุงนิล อายุ 66 ปี จากชุมพร ผู้เป็นต้นกำเนิดแนวคิดสวนเกษตรคอนโดอันลือลั่น
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเปลือกลำไย ใช้ไล่ยุงและแมลงรบกวนได้ดี
รู้หรือไม่ เปลือกลำไยไล่แมลง และใช้ไล่ยุง ได้ ในสมัยก่อน เรารู้กันว่า เปลือกส้ม ดอกไม้บางชนิด สามารถ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมการเพาะเห็ดในโอ่ง วิธีทำให้ได้ผลผลิตดี
การเพาะเห็ด ใช่ว่าจะจำกัดแค่เทคนิคเดิม ๆ เพราะมีหลายปัจจัย ที่ทำให้ การทำเกษตร ถูกปรับเปลี่ยนวิธีการ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมอนาคตเกษตรอินทรีย์ จะไปในทิศทางไหน
ระบบเกษตรอินทรีย์ จะมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมในเรื่องดินและน้ำในอนาคต ต้องทำให้เกิดการยอมรับและเพิ่มค
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมเพาะเมล็ดองุ่นไว้ปลูกในกระถางหน้าบ้าน ทำอย่างไรถึงได้ผล
ปลูกองุ่นในกระถาง ให้ได้ผล เพราะฝนกำลังจะไปแล้ว ถึงคราวเข้าช่วงฤดูหนาวกันแล้ว หนาวนี้ พืชที่นึกถึงเป
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
บทความเกษตรน่าสนใจ
แนะนำบทความเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ และน่าติดตาม บทความยอดนิยม
แนะนำบทความยอดนิยม ในหมวดต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ต้องการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง และยั่งยืน เนื้อหาเข้าใจง่าย ทำได้จริง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรโดยตรง
ปลูกมะยงชิดต้นเดียว รวยได้จริงไหม ถ้ามีลูกปีละหน
เลี้ยงไส้เดือนอย่างไร เพื่อให้ได้ปุ๋ยมูลไส้เดือน
เจาะลึกประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว จากผู้เชี่ยวชาญ