ตามปกติการทำเกษตรอินทรีย์ จะงดเว้นการใช้ปุ๋ยเคมีโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นระบบเกษตรที่เน้นการผลิตแบบยั่งยืน ไม่ทำลายทั้งสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นไปในเรื่องของการปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ธรรมชาติบำบัด และเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตรเป็นหลัก
ดังนั้น การทำเกษตรอินทรีย์ จึงเป็นการลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก โดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ต่างๆ ทั้งหมด ในขณะเดียวกัน ก็พยายามประยุกต์กลไกและวัฐจักรธรรมชาติ ในการเพิ่มผลผลิตให้ได้มากขึ้น
รวมไปถึงการพัฒนาความต้านทานต่อโรค ทั้งพืชและสัตว์เลี้ยง โดยมีหลักการและแนวทางในการทำเกษตรอินทรีย์ที่เป็นหลักการสากล ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ๆ แต่ปัญหาปัจจุบัน เกษตรกรส่วนใหญ่ก็ยังคงต้องลดระยะเวลาผลผลิตลง เพื่อให้ทันต่อสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน การใช้ปุ๋ยเคมี จึงมิอาจหลีกเลี่ยงได้ทั้งหมดในบางสถานการณ์
เพื่อต้องการหลีกเลี่ยงปุ๋ยเคมี สามารถใช้ สารทดแทนเคมีเพื่อทำเกษตรอินทรีย์
ทั้งนี้ทั้งนั้น หากไม่สามารถลดหรือยับยั้งการใช้เคมีได้ จึงอยากแนะนำวิธีที่สอดคล้อง และเป็นไปได้ในการผสมผสาน การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับการทำเกษตรอินทรีย์ โดยอาจเว้นพื้นที่บางส่วน ที่จำเป็นต้องมีการใช้เคมีเข้ามาช่วยเหลือเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์อย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด
เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ลดปริมาณปุ๋ยเคมีลง แล้วเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์เข้ามาผสม จะสามารถลดรายจ่ายลงครึ่งหนึ่ง แต่ก่อนจะดำเนินการ ควรศึกษาถึงผลกระทบต่อพืช และความต้องการธาตุอาหารของพืช ในแต่ละชนิดก่อนเป็นอันดับแรกสุด
เทคนิคการใช้ปุ๋ยแบบผสมผสาน ระหว่างปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการหมัก จนย่อยสลายสมบูรณ์ ด้วยจุลินทรีย์) แม้จะได้ปริมาณธาตุอาหารหลักน้อยลง แต่ไม่เป็นอันตรายต่อพืช และทำลายดินมากนัก เพราะประสิทธิภาพของการดูดซึมแร่ธาตุอาหารของรากพืช จะดำเนินการไปอย่างช้าๆ
ในขณะเดียวกัน ปุ๋ยอินทรีย์อาจขาดองค์ประกอบของธาตุอาหารหลักบางชนิด ก็สามารถช่วยเสริมด้วย ปุ๋ยเคมีเพียงเล็กน้อย จะสามารถช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ทั้งเคมี และทางชีวภาพได้ดีขึ้น
ในขณะเดียวกัน การใช้ปุ๋ยเคมีเพียว ๆ อาจมีข้อดีที่ปริมาณธาตุอาหารหลักและรองมีมาก พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว สะดวกในการใช้งาน แต่ก็ทำลายดินอย่างน่ากลัว อีกทั้ง ธาตุอาหารที่มีแต่พืชไม่ต้องการ ก็จะถูกสะสมลงในดิน ยิ่งนานวันก็จะทำให้ดินแปรเปลี่ยนไปในด้านแย่ หากไม่รีบปรับปรุงดินโดยการปลูกพืชเพื่อให้มาดูดซึมแร่ธาตุที่สะสมอยู่นั้นออกไป จะทำให้ดินเกิดการเสื่อม และปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น
ดังนั้น การตรวจสอบสภาพดิน และรู้ถึงความต้องการของพืช เราจะสามารถควบคุมปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีได้ง่ายขึ้น ยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประสิทธิภาพจะยิ่งทวีคูน แต่ทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยลง
ปุ๋ยเคมีราคาแพง จำเป็นต้องลดปริมาณการใช้
ยิ่งไปกว่านั้น ในปัจจุบันนี้ ปุ๋ยเคมี มีราคาแพงกว่าเมล็ดพันธุ์มาก บางชนิดต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และข้อด้อยของปุ๋ยเคมี ก็มีหลายอย่างเกินไป เช่น ราคาแพง ธาตุอาหารไม่ตรงสูตรตามที่ต้องการ ส่วนใหญ่จะมีมากเกินไป มีแร่ธาตุเกินความจำเป็น
ดังนั้นตัวเกษตรกรเอง หากมีความรู้และความเข้าใจในการนำวัสดุอินทรีย์ ที่เหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์ เช่น เศษพืช ผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร มูลสัตว์และวัสดุอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ มาผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์หรือเรียกกันว่า การทำปุ๋ยหมัก เพื่อให้วัสดุอินทรีย์เหล่านี้ได้เปลี่ยนรูปเป็นธาตุอาหารพืชได้เร็วขึ้น พืชก็สามารถนำไปใช้ได้เร็วกว่า
เหล่านี้จะสามารถทดแทนส่วนที่เคมีทำไม่ได้ โดยการนำมาผสม ปรับสูตร ให้เข้ากับพืชแต่ละชนิด เพราะข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์มีมาก เช่น ราคาถูก หาง่าย ทำได้เอง ใช้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ
ส่วนข้อด้อยของปุ๋ยอินทรีย์ คือต้องใส่ในปริมาณมาก การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียว จะต้องใส่ในปริมาณมาก เพราะมีธาตุอาหารน้อย และมีค่าใช้จ่าย ในเรื่องของ ค่าแรงงาน ดังนั้น การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ผสมกับปุ๋ยเคมี หรือการใช้ปุ๋ยเคมี ที่เน้นเป็นสูตรต่าง ๆ และหาวิธีการใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของพืช ดิน และสภาพแวดล้อม หาวิธีการจัดการที่เหมาะสมได้
สิ่งเหล่านี้ จะเป็นแนวทางที่สามารถใช้ในการเพิ่มศักยภาพในการเพาะปลูก ในระบบการทำเกษตร ในการเพิ่มผลผลิต ก็จะสามารถเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และอาจแก้ไขปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพงได้ด้วย
ภาพจาก ปุ๋ยตราคนเขียว
ตัวอย่าง การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างแปลงปลูกอ้อย ที่ต้องปรับสภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์สูง เช่น พื้นที่ดินเหนียวในภาคกลาง ความต้องการใส่ปุ๋ย จะน้อยกว่าดินร่วมปนทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี อาจเป็นวิธีการที่เหมาะสมอย่างหนึ่ง ที่สามารถเพิ่มความสมบูรณ์ให้แก่ดินได้ อีกทั้งยังสามารถช่วยให้การใส่ปุ๋ยเคมี มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ปริมาณการใช้ก็ลดลงด้วย
ตัวอย่างแปลงปลูกข้าว หากมีการใช้ปุ๋ยหมักมูลไก่ จากโรงหมักปุ๋ยแบบเติมอากาศ อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนครึ่งหนึ่งของอัตราที่แนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน และใช้หินฟอสเฟต (P14) แทนปุ๋ยเคมีในดินเหนียว ณ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ก็สามารถช่วยให้ผลผลิตข้าว สูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 18% และสูงกว่าการใช้ปุ๋ยหมักมูลไก่จากโรงหมักปุ๋ยแบบเติมอากาศ อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 12.7%
ตัวอย่างแปลงปลูกข้าวโพดหวาน การใช้ปุ๋ยหมักมูลวัว 1 ตัน ร่วมกับปุ๋ยเคมีไนโตรเจนครึ่งอัตราแนะนำ ช่วยเพิ่มผลผลิตมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 23% อย่างไรก็ตามราคาปุ๋ยหมักมูลวัวสูงมาก ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มต่ำกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำเพียงอย่างเดียว
ตัวอย่างแปลงปลูกยางพารา การใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 3 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ร่วมกับปุ่ยเคมีครึ่งอัตราแนะนำ ช่วยเพิ่มผลผลิตยางพาราสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย 32% และสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 12% ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 25% และรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า การไม่ใส่ปุ๋ยประมาณ 25% และรายได้เพิ่มมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ 16% และพบว่าการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมี ได้ประมาณ 50% ในการปลูกยางพารา
ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมี แนะนำ
สนใจผลิตภัณฑ์ ปุ๋ยเคมี สูตรต่าง ๆ สั่งซื้อได้ตามช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย
ปุ๋ยตราคนเขียว ปุ๋ยเกล็ด กิฟฟารีนบทสรุปการใช้ปุ๋ยเคมีในแปลงเกษตรอินทรีย์
การใช้ปุ๋ยเคมี อาจสามารถใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ได้ แต่ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะต้องมีการคำนวณสภาพดิน ต้องทราบถึงความต้องการของพืช และสภาพแวดล้อมโดยรวมในแปลงเกษตร ชนิดของพืชที่เพาะปลูก อัตราส่วนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ก็เพราะความเหมาะสมและให้ประโยชน์สูงสุดนั่นเอง
การผสมผสานเหล่านี้ ถือเป็นรูปแบบเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารพืชที่ยั่งยืนวิธีการหนึ่ง และไม่ได้ผิดหลักของการทำเกษตรใด ๆ เพราะเป็นระบบทางสากลอยู่แล้ว จุดประสงค์ก็เพื่อ ลดต้นทุนของการใช้เคมีลง รวมไปถึง การนำส่วนที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ ที่ถูกสะสมอยู่ในดิน กลับมาใช้ใหม่ โดยการเลือกชนิดของพืชที่ปลูก การใช้ประโยชน์ของพืชหมุนเวียน การทำให้ธาตุอาหาร ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่มีอยู่ในดิน ไม่ถูกเคลื่อนย้ายออกไปจากดินทั้งหมด
ทำให้การเติมปุ๋ยเคมีน้อยลง และสามารถพิสูจน์ได้ จากอัตราปุ๋ยที่แนะนำให้เกษตรกรใช้ เพื่อเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา สำนักวิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้
วิธีทำให้ต้นไม้มีใบด่าง มีจริงหรือไม่?
มีเคล็ดลับในการทำให้ต้นไม้มีใบด่าง เรียนรู้เรื่องแสง ธาตุอาหาร สารเคมี เพื่อเพิ่มโอกาสให้ต้นไม้มีใบด
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมใบเตย และการปลูกเตยหอมที่ควรรู้
ใบเตย ที่ว่านี้ไม่ใช่เป็นลูกสาวคนเดียวของผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 แต่ใบเตยนี้คือ เตยหอม
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมการปลูกแก้วมังกร เริ่มต้นวิธีง่าย ๆ แต่ได้ผลผลิตจริง
แก้วมังกร เป็นผลไม้นอกสายตาของนักเกษตร มีน้อยบ้านที่จะปลูกไว้ หากดูตามสภาพ ต้นมะม่วงหาว มะนาวโห่ ยัง
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมลูกชก ผลไม้โบราณ นานกว่าจะออกลูก
ว่าด้วยเรื่อง “ลูกชก” กับวันก่อนเขียนเรื่อง มะพร้าวทะเล ไปแล้ว ว่าเป็นผลไม้โบราณและหายาก
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมปลดล็อคกระท่อม 2564 เราทำอะไรได้บ้าง
กระท่อม ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์เข็มและกาแฟ (Rubia
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมประโยชน์ของปุ๋ยคอก ดีอย่างไร ทำไมถึงจำเป็น
นอกจากปุ๋ยเคมี ที่เป็นตัวเพิ่มธาตุอาหารแก่ดินแล้ว ปุ๋ยอินทรีย์อย่าง ปุ๋ยคอก ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จำเ
อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
บทความเกษตรน่าสนใจ
แนะนำบทความเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ และน่าติดตาม บทความยอดนิยม
แนะนำบทความยอดนิยม ในหมวดต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ต้องการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง และยั่งยืน เนื้อหาเข้าใจง่าย ทำได้จริง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรโดยตรง
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ในขวดพลาสติก
เนียมหูเสือ หรือ หูเสือ สมุนแก้หวัด
การปลูกพริกขี้หนูสีม่วง