มะปรางหวาน และผลไม้ตระกูลเดียวกัน มีอีกเพียบ

รู้หรือไม่ ผลไม้ที่มีชื่อเรียกหลายชนิด ตั้งแต่ มะยงชิด มะยงห่าง มะปราง กาวาง ล้วนแต่มาจากพืชตระกูลเดียวกัน มีลักษณะผลคล้ายกัน

แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องของ ขนาดผล และรสชาติของผลไม้ จึงถูกจำแนกออกไปในหลายชื่อเรียก ก็เพราะผลของมันที่ไม่เหมือนกันนี่แหละ

มะปราง ถิ่นและต้นกำเนิด

สืบไปถึงต้นกำเนิดของมะปราง จัดเป็นพืชเมืองร้อน ถิ่นกำเนิดที่ค้นพบคือ อยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย ลาว พม่า มาเลเซีย โดยมีบันทึกไว้ว่า ต้นมะปรางมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ไม่แปลกหรอก เพราะพืชตระกูลนี้ มีอายุยืนยาวนานกว่า 100 ปี

ในประเทศไทยเองก็พบได้หลายแห่ง ทั้งกำแพงเพชร และสุโขทัย มีต้นมะปรางเก่าแก่ในหลายพื้นที่

มะปรางหวาน เป็นไม้ผลที่มี ทรงต้นพุ่มแหลม มีกิ่งก้านสาขา ค่อนไปทางหนา และทึบ ความสูงเฉลี่ย 15-30 เมตร ลักษณะใบ เรียว กว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 14 ซม. ดอกออกเป็นช่อ ดอกเกิดบริเวณปลายกิ่งแขนง ช่อดอกยาว 8-15 ซม. เป็นดอกสมบูรณ์เพศ สีเหลือง ผลรูปไข่และกลม ปลายเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่งมี 1-15 ผล ผลดิบมีสีเขียวอ่อน-เขียวเข้มตามอายุของผล

ดอกสมบูรณ์เพศ (Perfect flower)

คือดอกไม้ที่มีเกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย และกลีบเลี้ยง อยู่ภายในดอกเดียวกันครบถ้วน

ส่วนดอกไม้ที่มีไม่ครบส่วน คือ ไม่มีกลีบเลี้ยง แต่ยังเป็นดอกสมบูรณ์เพศอยู่ ก็มี เช่น ดอกบัว ดอกพู่ระหง

ดูเนื้อหาเพิ่มเติมที่ : ผักและผลไม้ แตกต่างกันอย่างไร

ผลมะปรางสุกมีสีเหลือง หรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลนิ่ม เนื้อในสีเหลือง ออกแดงส้ม รสชาติมีจะมีทั้งเปรี้ยวและหวาน ใน 1 ผลมี 1 เมล็ด มีลักษณะเป็นเส้นใย เนื้อในเมล็ดมีสีขาวและสีม่วง รสขม ในสมัยก่อน การแยกสี นิยมเรียกสีเสื้อผ้าและสีของใช้ต่าง ๆ ว่า สีเมล็ดมะปราง

ไม้ตระกูลมะปราง มีหลายชื่อเรียก ที่สังเกตุได้คือ มะปราง, มะยงชิด, มะยงห่าง และกาวาง

มะปราง และญาติห่าง ๆ ที่เป็นสายพันธุ์เดียวกัน

มะปรางและญาติห่าง ๆ ในตระกูลเดียวกัน

1. มะปริง ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Bouea microphylla Griff. ใบมีขนาดเล็ก 3-4 ซม.x3-6 ซม. ผลมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่มีรสเปรี้ยวจัด

มะปริง
มะปราง

2. มะปราง (Bouea macrophylla Griff.) บางท่านก็คิดว่าคือ มะยงชิด แต่จากฐานข้อมูล The Plant List ซึ่งรีวิวเมื่อปี 2012 จำแนกได้ว่า คือคนละชนิดกัน

มะปรางผลจะเล็กกว่ามะยงชิด และเนื้อเปลือกไม่มีความเปรี้ยว เนื้อหวานไม่กรอบ หากเปรี้ยวทั้งเปลือกทั้งเนื้อผล นั่นคือ ผลของต้นกาวาง

3. มะยงชิด (Bouea oppositifolia (Roxb.) Meisn.) เมื่อสุกจะมีสีเหลืองส้ม ในอินโดนีเซียพบผิวสีแดง รสชาติผลหวานอมเปรี้ยว ส่วนที่เปรี้ยวคือเปลือก คนทั่วไปจึงฝานเปลือกทิ้งเวลารับประทาน

มะยงชิดที่มีรสเปรี้ยว ถูกเรียกว่า “มะยงห่าง” ซึ่งก็คือ “ห่างจากความหวาน” นั้นเอง

มะยงชิด
กาวาง

4. กาวาง คือ มะปรางที่มีผลขนาดใหญ่ แต่รสชาติเปรี้ยวจัด ชนิดมะดันเรียกพี่

มักพบในต้นที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ ออกดอกติดผลสีสวย แต่เมื่อนกและกาที่หิวโหย ลองจิกชิมลิ้มรสผลสุก ก็ต้องรีบวาง เพราะเปรี้ยวมาก ด้วยเหตุนี้เอง ไม้ผลตระกูลมะปรางที่มีรสเปรี้ยวจัดจึงได้ชื่อว่า กาวาง

สาเหตุของความแตกต่างทางสายพันธุ์

สาเหตุที่พบความแตกต่าง ของพืชตระกูลนี้ เป็นเพราะต้นที่เกิดใหม่จากเมล็ด ทำให้เกิดการกลายพันธุ์อยู่เรื่อย ๆ แต่ในปัจจุบัน วิธีการขยายพันธุ์พืชได้พัฒนาขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การทาบกิ่ง  ติดตา ตอนกิ่ง ฯลฯ ทำให้ได้ต้นพันธุ์ที่เหมาะสม และตรงกับความต้องการมากขึ้น

ต้นพันธุ์ดั้งเดิม และไม่มีความต้องการ จึงไม่ได้รับการเหลียวแล ทำให้มีการกลายพันธุ์ไปในหลายรุ่น จนเกิดความแปลกแยกของสายพันธุ์

ต้นธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะให้ผลเล็ก รสชาติหวานบ้าง เปรี้ยวบ้าง จนคนไปจับจุดเด่นได้ จึงเอามาปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นของตัวเอง

ในยุคสมัยก่อน มีการขยายพันธุ์มะปรางโดยการเพาะเมล็ด จึงทำให้มีต้นที่มีรากแก้ว และทรงพุ่มใหญ่ เพราะรากชอนไชหาอาหารได้ดี ลำต้นแข็งแรง แต่ออกดอกติดผลช้า และมีความเด่นที่รสชาติ เช่น มะปรางหวาน, มะปรางเปรี้ยวอมหวาน แต่ผลใหญ่(มะยงชิด), ถ้าผลใหญ่แต่เปรี้ยวเรียก มะยงห่าง, มะปรางเปรี้ยว(กาวาง)

ความเหมือนกันนี้ สังเกตุจากใบ หรือดูจากผลจะแยกกันแทบไม่ออก ต้องลองชิมรสชาติของผลเท่านั้นถึงจะรู้

ลักษณะพันธุ์ดั้งเดิม ถูกเปลี่ยนไปในเชิงการค้า

คนเพชรบูรณ์ทาบกิ่งเอาไปปลูก ก็ตั้งชื่อว่าเพชรนั้นเพชรนี้ คนอุตรดิตถ์ทาบกิ่งเอาไปปลูก ก็ตั้งชื่อว่าทองชนิดนั้น ทองชนิดนี้ คนกำแพงเพชรเอากิ่งไปปลูก ก็ตั้งชื่อเป็นพันธุ์ตัวเองแบบนั้นแบบนี้

ทั้งที่ความจริง อาจมาจากต้นพันธุ์เดียวกันก็ได้

ส่วนสาเหตุที่เกษตรกร อยากได้ชื่อเป็นของตนเอง ก็คงเพราะอยากสร้างจุดขายนั่นแหละ

แต่สรุปเรื่องนี้ เราก็ได้สายพันธุ์ผลไม้ ที่มาจากตระกูลเดียวกัน หลายชนิดให้เลือกรับประทาน ก็ถือว่าต่างได้ประโยชน์

แต่ที่น่าเสียดายคือ ต้นพันธุ์ดั้งเดิม อย่าง กาวาง ก็อาจถูกลืมเลือนไปโดยที่หลายคนยังไม่รู้เลยว่า มันมีต้นแบบนี้ด้วยเหรอ

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

แก่นฝาง เร่งขนุนให้ออกลูกติดผลได้ดี

แก่นฝางกับการปลูกขนุน เกี่ยวข้องกันอย่างไร และน้อยคนนักที่รู้จักแก่นฝาง ซึ่งไม้ชนิดนี้ ถือเป็นต้นไม้

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เลี้ยงหนอนนกขาย ทำอย่างไรให้กำไรงาม

ใครไม่รู้จักบ้าง หนอนนก หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Mealworm จัดเป็นชื่อสามัญที่เรียกสำหรับหนอนของแมลงปี

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
การปลูกอ้อยด้วยระบบน้ำหยด

การปลูกอ้อยด้วยระบบน้ำหยดนี้ ใช้เวลาปลูก 1 ปีเท่านั้น เน้นการบำรุงดินด้วยสูตรชีวภาพ ผสมกับระบบน้ำ ทำ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
การเพาะเห็ดในโอ่ง วิธีทำให้ได้ผลผลิตดี

การเพาะเห็ด ใช่ว่าจะจำกัดแค่เทคนิคเดิม ๆ เพราะมีหลายปัจจัย ที่ทำให้ การทำเกษตร ถูกปรับเปลี่ยนวิธีการ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
อุปกรณ์จัดทำสวนหย่อมขนาดเล็ก แต่สวยมาก

เพราะช่วงนี้อาจต้องใช้เวลาอยู่กับบ้านมากขึ้น การใช้เวลาให้มีประโยชน์ด้วยการจัดสวนหย่อม เป็นสิ่งที่อา

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
ใบเตย และการปลูกเตยหอมที่ควรรู้

ใบเตย ที่ว่านี้ไม่ใช่เป็นลูกสาวคนเดียวของผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 แต่ใบเตยนี้คือ เตยหอม

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

บทความเกษตรน่าสนใจ

แนะนำบทความเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ และน่าติดตาม บทความยอดนิยม

แนะนำบทความยอดนิยม ในหมวดต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ต้องการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง และยั่งยืน เนื้อหาเข้าใจง่าย ทำได้จริง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรโดยตรง

เราใช้คุกกี้ และแสดงป้ายโฆษณา เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ศึกษารายละเอียดที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และคุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัว ได้โดยคลิก ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เปิดใช้งานคุกกี้ที่จำเป็น และไม่ควรปิดกั้นการแสดงโฆษณาที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
error: อนุญาตแบบมีที่มา