ปลาหมอไทย เลี้ยงอย่างไรให้รวย

หน้าฝนมา ปลาหมอไทย ก็แหวกว่าย ก่อนนี้เคยได้ดูรายการ The Master คนต้นแบบจากช่องจานดำ ไม่รู้ปัจจุบันยังมีอยู่ไหม

แต่เรื่องนี้ จำได้ว่าน่าสนใจตรงที่มีเรื่องราวของ ปลาหมอไทยกับปราชญ์ชาวบ้าน จำได้ว่า เรื่องราวเกษตรต่าง ๆ ในวันนั้นผมได้ดูตอน ปลาหมอไทยกับปราชญ์ชาวบ้าน คุณเปิ้ล ซึ่งเป็นผู้ตามแบบ โดยมี คุณสุทัศน์ รอดคลองตัน ปลาหมอไทย เป็นคนต้นแบบ

ข้อมูลที่สืบค้นมาว่า นำเสนอทางรายการไปเมื่อ 3 ตุลาคม 2554 เป็นตอนแรก เห็นบอกว่าท่านได้สายพันธุ์ที่ในหลวงพระราชทานมาด้วย (ในเรื่องคุณเปิ้ล เป็นคนตามแบบ และก็มีพี่ ๆ น้อง ๆ แล้วแต่รายการ จะจัดให้ใคร ไปเป็นคนตามแบบ) ก็พยายามค้น ๆ ใน internet ก็ไม่เจอข้อมูลเพิ่มเติม

ได้ดูช่วงปลาย ๆ เรื่องใกล้ ๆ จะจบมี น้องผู้หญิงชื่อเปิ้ล เป็นคนตามแบบ ดูท่าทางเก้ ๆ กัง ๆ กับการเป็นคนตามแบบ เลี้ยงปลาหมอไทย กับคุณสุทัศน์ ที่เป็นปราชญ์นะ (ถ้าจำชื่อผิดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้) ปราชญ์ท่านนี้ ฟังทีแรกก็ชื่นชมเลย เพราะรู้แน่ว่าท่านเชี่ยวชาญเรื่อง ปลาหมอไทย แน่นอน

เริ่มแรก ก็เล่าว่า การเลี้ยงปลาหมอ ก็มีการขายตามขนาด ถ้าจะเลี้ยงให้ได้เงินดี ต้องเลี้ยงแล้วขายตั้งแต่ ขนาดเล็ก ท่านว่า ขนาดเล็ก ผู้เลี้ยงกำหนดราคาได้ แต่ถ้า ขนาดใหญ่ พ่อค้า จะเป็นคนกำหนดราคา ใครอยากเลี้ยงแบบไหน ก็เลือกเอา ปลาหมอไทยมีหลายขนาด หลายเบอร์ การอนุบาล ปลาหมอ ก็ไม่นาน

ช่วงเดือนที่ให้ ผสมพันธุ์ปลาหมอ นั้น จะกินเวลานานหลายเดือน แต่สามารถเลี้ยง และผสมพันธุ์นอกฤดูกาลได้ หากความต้องการของตลาดสูง ในช่วงนั้น ก็สามารถคุม ลูกปลา ให้เกิดได้ โดยการใช้ สารเคมี นิดหน่อย ฉีดเร่งน้ำเชื้อ เร่งไข่ แล้วปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาลงบ่อเลี้ยง ประมาณ 6 ชั่วโมง ก็ออกมาเป็น เจ้าตัวเล็ก ลูกปลาหมอไทย แล้ว เลี้ยงไปประมาณ 70 วันก็ขายได้

คุณสุทัศน์ รอดคลองตัน ผู้เป็น ปราชญ์ชาวบ้าน เกี่ยวกับปลาหมอไทย ท่านอยู่บ้านเลขที่ 34/1 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองตัน อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ประจำจังหวัด ในการเลี้ยงปลาหมอไทย มีผลผลิตถึงปีละไม่น้อยกว่า 5 ตัน

ปลาหมอไทย

การเลี้ยงปลาหมอไทย

อันนี้เป็นทางวิชาการ ไม่ใช่ในรายการนำเสนอ เพราะจำรายละเอียดได้น้อยมาก เนื่องจากรายการใกล้จบแล้ว เลยมาค้น ๆ ดูข้อมูลทั่วไปในการ เลี้ยงปลาหมอไทย แล้วนำมาเผยแพร่ต่อ ซึ่งการเลือกสถานที่เลี้ยง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ การเลี้ยงปลาหมอไทย ประสบความสำเร็จหรือไม่ ดังนั้นการเลือกสถานที่เลี้ยง และการออกแบบ บ่อเลี้ยปลา ควรทำด้วยความรอบคอบ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ คือ

  • ลักษณะดิน ควรเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย น้ำไม่รั่วซึม สามารถเก็บกักน้ำได้ 4-6 เดือน ไม่ควรเลือกพื้นที่ที่เป็นดินทรายหรือดินปนกรวด แต่ปราชญ์เลี้ยงในบ่อปูนขนาด 3×3 เมตร หรือ 6×6 เมตร แล้วแต่ความจุของปลา
  • ลักษณะน้ำ พื้นที่เลี้ยงควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ที่มีน้ำตลอดปี หรืออยู่ในเขตชลประทาน หากเป็นพื้นที่ที่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ควรพิจารณาปริมาณน้ำฝนที่ตกในรอบปีด้วย แต่ปราชญ์บอกว่าปลาหมอตัวขนาดสองนิ้วก็สามารถอยู่ในน้ำที่เกือบจะเน่าได้สบาย
  • แหล่งพันธุ์ปลา เพื่อความสะดวกในการลำเลียงปลามาเลี้ยง พื้นที่เลี้ยงไม่ควรอยู่ห่างไกลจากแหล่งปลา ปราชญ์บอกว่าท่านได้ พันธุ์ปลาหมอจิตรลดา มา เห็นว่าในเขตนั้นได้มาเพียง 2 คน มีใบรับประกันด้วย พันธุ์นี้ทนโรคได้ดี เลี้ยงง่าย โตเร็ว
  • ตลาด แม้ว่าหลังจากจับปลาขายจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงปากบ่อ แต่หากพื้นที่เลี้ยงอยู่ใกล้ตลาด จะทำให้ได้เปรียบในการขนส่งผลผลิตเพื่อการจำหน่าย อย่างไรก็ตามบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่อยู่ในเขตพื้นที่น้ำจืด สามารถนำมาใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาหมอไทยได้
ปลาหมอไทย

การปล่อยพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์ ให้วางไข่ในบ่อ วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาเรื่อง ลูกปลาตาย ในระหว่างการลำเลียงได้ โดยการคัดเลือก พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ที่มีไข่และน้ำเชื้อสมบูรณ์ พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ คือตัวเมีย จะมีส่วนท้องที่อูม มีไข่สีเหลือง ส่วนตัวผู้ ที่ท้องจะมีเชื้อสีขาว คล้ายน้ำนม

เมื่อคัดพ่อแม่พันธุ์ปลาได้แล้ว จะฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ ให้กับตัวเมีย ในอัตราเข้มข้นฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัม และยาเสริม 5 มิลลิกรัม ต่อปลา 1 กิโลกรัม แล้วปล่อยให้วางไข่ ในกระชังตาห่าง ซึ่งแขวนอยู่ในบ่อที่มีระดับน้ำไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เมื่อวางไข่หมดแล้ว จึงนำกระชังพ่อแม่พันธุ์ขึ้น ปล่อยให้ไข่ฟักเป็นตัว

หลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัว ประมาณ 4 วัน จึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็น ปลาสด สับละเอียด และเปลี่ยนเป็น อาหารเม็ด เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น

ปลาหมอไทย

ปลาหมอไทย ทำไมถึงดีกว่า

ปลาหมอไทย เนื้อปลาจะหวานมันเป็นพิเศษ ในช่วงเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนกุมภาพันธุ์ ในตลาดสดขายประมาณ กิโลกรัมละ 40-50 บาท แล้วแต่ขนาดตัวปลาและแหล่งที่ขาย ถ้าเป็นตามต่างจังหวัดก็ถูกหน่อย และหาซื้อกินได้ง่าย แต่ในกรุงเทพจะเห็นมีเป็นบางตลาดเท่านั้น อย่างตลาดสะพานสูงตรงบางซื่อ ที่แม่ค้าจากจังหวัดนครปฐม และ อยุธยา รับปลามาขาย ตลาดสะพานสอง ก็มีเป็นบางวัน

แหล่งที่อยู่อาศัย ปลาหมอไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่ว ๆ ไป ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ปลาหมอไทย สามารถปรับตัวเจริญเติบโต เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำกร่อย ที่มีความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนในพันได้ เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษ ช่วยในการหายใจ ปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า ปลาสะเด็ด ภาคเหนือ เรียกว่า ปลาแข็ง และภาคใต้ เรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกปูยู ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ปลาหมอ

ปลาหมอไทย เลี้ยงอย่างไรให้รวย

พันธุ์ปลาหมอที่รู้จักกันดี

  1. พันธุ์ปลาหมอตาล รูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้างมากกว่าปลาหมอไทย หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็ก ยืดหดได้
  2. พันธุ์ปลาหมอช้างเหยียบ รูปร่างป้อมเป็นรูปไข่หรือกลมรี ลำตัวด้านข้างแบน
  3. พันธุ์ปลาหมอชุมพร ๑ จาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ (ศพก.) ชุมพร
    ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร เลขที่ 12/35 หมู่ 8 ตำบลทุ่งคา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร 86100 โทรศัพท์ 077-510310 ในวัน และเวลาราชการ

รูปร่างลักษณะภายนอก ของปลาหมอไทยนั้น มีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำ หรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน ส่วนลำตัวมีเกล็ดแข็ง กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยัก แหลมคม ใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำ ลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศ ปลาหมอไทยเพศเมียนั้น จะมีขนาดใหญ่ และน้ำหนักมากกว่าเพศผู้ เพศผู้มีลักษณะลำตัวเรียวยาว ในระยะฤดูวางไข่ ส่วนท้องของปลาเพศเมียจะอูมเป่ง

ก็ได้ความรู้ดีมาก ในรายการมีการสาธิต การทำน้ำ EM ด้วยต้นกล้วย คัดเฉพาะต้นที่ไม่เคยมีหัวปลี (ปราชญ์คุณสุทัศน์ ท่านว่าต้นที่มีหัวปลีจะมีแกน ซึ่งไม่เหมาะจะนำมาทำ EM) ส่วนที่มีจุลินทรีย์มากก็เป็นเหง้ากล้วย แต่ไม่เหมาะอีกเช่นกัน เพราะถ้าเอาเหง้ามาใช้กล้วยก็ไม่แตกหน่อ

สรุปเอาต้นที่ยังไม่ออกหัวปลีมาใช้ ดีสุด เพราะเนื้อต้นยังนิ่ม จุลินทรีย์มีมากแต่ต้องฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนเพื่อสะดวกในการใช้ แล้วทำการหมักลงถัง ไปตามปกติกับกากน้ำตาล

เยี่ยมมากเลย คุณลุงสุทัศน์ รอดคลองตัน ปราชญ์ชาวบ้าน ด้านปลาหมอไทย

ส่วนใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสายพันธุ์ปลาหมอที่คุณลุงสุทัศน์เลี้ยงอยู่ ติดต่อสอบถามกันได้ที่ บ้านเลขที่ 34/1 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองตัน อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร 76150

ความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ ล่าสุดในตอนนี้

ข้าวนึ่งไทย ใครซื้อใครขาย

ข้าวนึ่ง หรือ Parboiled Rice เป็นข้าวที่ผ่านการแปรรูป ให้เมล็ดข้าวมีความแข็งมากกว่าปกติ เก็บรักษาได้

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
เส้นก๋วยเตี๋ยวแปรรูป นวัตกรรมอาหารจานเส้น

เส้นก๋วยเตี๋ยวแปรรูป กับการย้อนอดีตไปยังต้นกำเนิดของ เส้นก๋วยเตี๋ยว อาหารที่แปรรูปมาจากธัญพืช 2 ชนิด

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
รู้จัก ต้นมะยมเงินมะยมทอง ไม้โขดแห่งความมงคล

มะยมเงินมะยมทอง เสริมโชคลาภ ช่วงนี้ภาวะเศรษฐกิจเหมือนจะตกต่ำ หลายคนบอกว่ากำลังดีขึ้น แต่ผู้คนต่างก็ไ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
แนะวิธีการปลูกต้นมะม่วงหิมพานต์ให้ได้ผลดี

มะม่วงหิมพานต์ ชื่อนี้หลายคนคุ้นเคยกันดี เนื่องจากเม็ดนั้นอร่อย ไม่ว่าจะทอด อบ หรือคั่ว มะม่วงหิมพาน

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
ข้าวบัสมาติ หนึ่งในพันธุ์ข้าวหอมเมล็ดยาว

ข้าวบัสมาติ เป็นพันธุ์ข้าวหอม เมล็ดยาว ปลูกกันมากในอินเดีย ปากีสถาน แตกหน่อเป็นพันธุ์ข้าวหอมหลายสายพ

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม
แผงโซล่าเซลล์ กับการทำเกษตร

แผงโซล่าเซลล์ เป็นพลังงานสะอาด และเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม และเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้กับการ ทำเกษต

อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติม

บทความเกษตรน่าสนใจ

แนะนำบทความเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจ และน่าติดตาม บทความยอดนิยม

แนะนำบทความยอดนิยม ในหมวดต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ต้องการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง และยั่งยืน เนื้อหาเข้าใจง่าย ทำได้จริง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรโดยตรง

เราใช้คุกกี้ และแสดงป้ายโฆษณา เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ศึกษารายละเอียดที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และคุณสามารถจัดการความเป็นส่วนตัว ได้โดยคลิก ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เปิดใช้งานคุกกี้ที่จำเป็น และไม่ควรปิดกั้นการแสดงโฆษณาที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
error: อนุญาตแบบมีที่มา